World Celeb

สตรีชาวอัฟกันหนีตอลีบันไปไหนบ้าง

Pinterest LinkedIn Tumblr


เมื่อราว 3 เดือนที่ผ่านมา อัฟกานิสถานต้องตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของกลุ่มตอลีบันอีกครั้ง หลังสหรัฐตัดสินใจถอนกองทัพออกมา

ความโหดร้ายของกลุ่มปกครองที่คลั่งศาสนา ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่อันสงบสุขของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจำกัดสิทธิของสตรีในอัฟกานิสถาน ผู้คนจำนวนมากแย่งชิงกันเพื่อที่จะหนีออกมาจากบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขาไปตายเอาดาบหน้า

หลังเหตุความวุ่นวายทางการเมือง มีผู้อพยพชาวอัฟกาสนิสถาน กลายสภาพเป็นผู้ลี้ภัยในปี 2020 ถึง 2.8 ล้านคน โดยพวกเขาเดินทางไปอาศัยยังประเทศต่างๆ ที่เปิดรับโดยร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ ไม่ว่าจะเป็น แคมป์ผู้ลี้ภัยในเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ที่เป็นผู้อพยพชุดแรกที่ติดออกมากับเครื่องบินทหารของอเมริกา ราว 3,500 คน และยังตามมาอีก 10,000 ราย

ขณะที่คณะผู้อพยพใหญ่อีกราว 20,000 คน มุ่งหน้าสู่แคนาดา ส่วนอังกฤษขอรับผู้หญิงและเด็กๆ อีก 5,000 คน สำหรับใครที่ไม่อยากเดินทางไกล ก็สามารถอพยพไปที่อินเดีย ปากีสถาน อุซเบกิสถาน หรืออิหร่าน ก็เปิดรับเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีประเทศทางเลือกอย่าง นอร์ทมาเซโดเนีย อูกันดา อัลบาเนียและโคโซโว รวมทั้งตุรกี


สำหรับเด็กผู้หญิงอย่าง ซารา โจยา เลือกที่จะอพยพมายังอังกฤษ เธอย้อนเล่าว่า ตอนเด็กๆ ต้องปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชายเพื่อที่จะได้เรียนหนังสือ

หลังเรียนจบเธอตั้งสำนักข่าวสำหรับผู้หญิงในกรุงคาบูล รายงานข่าวเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรี ทำให้ชีวิตของเธอมีความเสี่ยงเป็นอย่างมากเมื่อการเมืองเปลี่ยนไปอยู่ในมือตอลีบัน ทำให้เธอต้องอพยพออกมาอยู่ในอังกฤษ และไม่วายที่จะตีแผ่เรื่องราวชีวิตของสตรีในอัฟกานิสถานให้โลกรู้

“ตอลีบันทำลายความผาสุข 20 ปี ให้หมดไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เผลอแป๊บเดียวทุกอย่างก็กลับตาลปัตรไปหมด” ซารา บอกว่า โชคดีที่ครอบครัวของเธออพยพหนีตายออกมาได้ทันเวลา เราซ่อนตัวอยู่ในโรงแรมแบบเงียบเชียบกันมาก และวางแผนการหนีอย่างสุดชุลมุน


ซาราเล่าว่า การเป็นนักข่าวหญิงในคาบูลไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เธอมักจะถูกไล่ให้กลับบ้าน ต้องต่อสู้เพื่อสิทธิเพื่อเสียงมากกว่านักข่าวผู้ชายหลายเท่าตัว “แต่ฉันก็ต้องการพิสูจน์ว่า ฉันทำอะไรได้บ้าง และมีสิทธิที่จะทำด้วย

“ฉันเกิดเป็นลูกสาวคนโต ในครอบครัวที่มีความเชื่อว่ามีลูกสาวก็เศร้าแล้ว เข้าใจมั้ย? นี่คือวิธีคิดของคนในอัฟกาสนิสถาน แต่ฉันคิดว่า ฉันจะต้องเป็นสิ่งที่เป็นความต้องการของครอบครัวให้ได้”

ซารา บอกว่า โชคดีที่ครอบครัวสนับสนุนสิ่งที่เธอทำ ไม่ว่าจะเป็นการปลอมตัวเป็นเด็กชายเพื่อเรียนหนังสือ ที่บ้านก็ไม่ได้ห้าม ทำให้เธอได้มีชีวิตในแบบที่หวัง “ฉันมีชื่อ มูฮัมเหม็ด ด้วยนะ ตอนที่ปลอมตัวไปเรียนหนังสือ” ซาราย้อนเล่า

Comments are closed.

Pin It