Travel

ชมเมืองน่านผ่านความประทับใจของ "บัณฑูร ล่ำซำ"

Pinterest LinkedIn Tumblr

บัณฑูร ล่ำซำ กับรอยยิ้มแห่งความรักเมื่อเล่าเรื่องเมือง “น่าน” ในฐานะพลเมืองเมืองน่านด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยม
>>”บัณฑูร ล่ำซำ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย พาชมจังหวัด “น่าน” เพื่อตามรอยสถานที่ซึ่งระบุอยู่ในหนังสือ “สิเนหามนตาแห่งลานนา” ผลงานสร้างสรรค์จินตนิยายอิงตำนานและประวัติศาสตร์เมืองน่าน

มนต์เสน่ห์ของเมืองน่าน ทำให้คุณบัณฑูร อยากบอกเล่าทุกเรื่องราวความรักที่มีกับเมืองน่าน การเดินทางครั้งนี้ คุณบัณฑูรได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรพิเศษ ต้อนรับและแนะนำโรงแรมพูคาน่านฟ้าและวังป่าคอวัง สถานที่ที่ระบุอยู่ในหนังสือ จัดเลี้ยงอาหารมื้อพิเศษมอบให้กับลูกค้าเดอะวิสดอม ร่วมด้วยอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ที่มาร่วมบรรยายตลอดทริป
ย้อนรอยเล่าถึงที่มาของการเป็นเจ้าของ “โรงแรมพูคาน่านฟ้า” โรงแรมระดับตำนานของเมืองน่าน
คุณบัณฑูร ได้พาลูกค้าเดอะวิสดอมเดินชม และเริ่มต้นเล่าที่มาของ “โรงแรมพูคาน่านฟ้า” ว่า มีคนบอกว่า มีโรงแรมไม้สักเก่าทั้งหลังตั้งอยู่ ใจกลางเมือง เป็นศิลปะล้านนา เจ้าของเก่าอายุมากแล้ว และไม่อยากรับภาระนี้ คุณบัณฑูรจึงซื้อไว้ด้วยความตั้งใจเพื่อรักษาของเก่าที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวน่าน และปรับปรุงจนกลายเป็น “โรงแรมพูคาน่านฟ้า”

ในขณะที่จินตนิยายเล่มแรกของคุณบัณฑูร ที่ชื่อว่า “สิเนหามนตาแห่งลานนา” เกิดจากความประทับใจของคุณบัณฑูรที่มีต่อเมืองน่าน มีฉากแจ้งกับฉากเงาสลับกันไป “แจ้ง” คือเหตุการณ์ปัจจุบัน “เงา” คือเรื่องราวอดีตที่นำมาสอดร้อยกันให้เห็นภาพผ่านสถานที่สำคัญและบริบทต่างๆ ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของเมืองน่าน เกิดขึ้นในฉากแจ้งเมื่อรุ้งราตรี (นางเอก) สาวสวยจากเมืองกรุง เดินทางไปท่องเที่ยวน่านกับสองหนุ่มวัยรุ่น การท่องเที่ยว 7 วันนั้น บัณฑูร ได้เล่าถึงสถานที่ต่างๆ ทั้งประวัติ ทั้งตำนาน ผ่านสายตาของรุ้งราตรีอย่างละเอียดลออ โดย 7 วันที่น่าน รุ้งราตรีต้องมนต์ เคลิบเคลิ้ม ประหนึ่งฝันไปในบางช่วงบางตอน เลื่อนลอยไปในอดีตกว่า 600 ปี ในวรนคร และนันทบุรี ที่ปัจจุบันคือ อ.ปัว และ อ.เมือง จ.น่าน

ลูกค้าเดอะวิสดอม ได้ร่วมเดินทางเดินย้อนรอยไปสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ในหนังสือ “สิเนหามนตาแห่งลานนา” ความงดงามและเรื่องราวในอดีตได้ถูกนำมาเรียงร้อยโดย อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ที่มาร่วมบรรยายตลอดการเดินทาง พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมพิธีสืบชะตาตามธรรมเนียมล้านนาโบราณเพื่อความเป็นสิริมงคลสูงสุด

คำว่า “สืบ” ความหมายคือต่อให้ยาวขึ้น “ชะตา” หรือชาตาชีวิตของแต่ละคน เป็นความเชื่อพิธีกรรมที่มาจากศาสนาพราหมณ์ โดยมีอาจารย์ประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นฆราวาสที่มีความ เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมพื้นบ้านและถือเป็นตัวแทนของพราหมณ์ เป็นผู้ประกอบพิธี ต่อมาเมื่อ พุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาจนมีความเจริญรุ่งเรือง พิธีสืบชะตาจึงมีการผสมผสานระหว่างพิธีพุทธกับพิธีพราหมณ์ โดยมีพระสงฆ์มาทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีสืบชะตาแทนอาจารย์ซึ่งเป็นฆราวาส
ธนาคารกสิกรไทย เปิดสาขาปัว ต้อนรับลูกค้าเดอะวิสดอม โดยสาขาปัว เป็นอาคารไม้สักทั้งหลัง ต้นแบบจากโรงแรมพูคาน่านฟ้า ผสมผสานศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา ชั้นบนเป็นอาคารที่พักชมวิวในเมืองปัว
10 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเมืองน่านที่อยู่ในหนังสือ “สิเนหามนตาแห่งลานนา”

1.วัดภูมินทร์ วัดหนึ่งเดียวในไทยที่สร้างเป็นทรงจัตุรมุขเป็นทั้งมหาเจดีย์ พระวิหาร และพระอุโบสถอยู่ในที่เดียวกัน นมัสการพระพุทธมหาพรหมอุดมศักยมุนี ที่มีพระปฤษฎางค์ชนกัน 4 ทิศ ชมความงามของ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “กระซิบรักของปู่ม่านและย่าม่าน” อันลือชื่อ ถือเป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาชั้นยอดของพุทธศิลปินสกุลช่างน่าน

2.ขนมบัวลอยป้านิ่ม ร้านขนมหวานชื่อดังของจังหวัด ฝีมือการทำขนมของป้านิ่มเป็นที่เลื่องลือในเรื่องความอร่อยมานานหลายปี ขนมหวานป้านิ่มแบ่งเป็น 2 เมนู คือ เมนูร้อนๆ ที่มีทั้งเต้าส่วน ลูกเดือยเปียกมะพร้าวอ่อน บัวลอยมะพร้าวอ่อนน้ำหอม ที่รสชาติไม่หวานเกินไป และเมนูเย็นๆ อย่างลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตรน้ำแข็งใส และไอศกรีมกะทิสด ใส่ไข่แดง
วัดภูมินทร์ วัดหนึ่งเดียวในไทยที่สร้างเป็นทรงจัตุรมุขเป็นทั้งมหาเจดีย์ พระวิหาร และพระอุโบสถอยู่ในที่เดียวกัน
3.วัดต้นแหลง ซึ่งเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2127 หรือประมาณ 422 ปีมาแล้ว โดยช่างไทลือ วิหารทรงตะคุ่มหลังลาดต่ำ ซ้อน 3 ชั้น ลักษณะเดียวกันบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทลือแถบสิบสองปันนา ประตูทางเข้าตั้งอยู่ทิศตะวันออก เพื่อให้แสงแรกของวันสาดส่องมาต้ององค์ประธาน และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่มาในวิหารมุ่งความสนใจไปที่องค์พระประธาน

4.ธนาคารกสิกรไทย สาขาปัว เป็นอาคารไม้สักทั้งหลัง ต้นแบบจากโรงแรมพูคาน่านฟ้า ผสมผสานศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา ชั้นบนเป็นอาคารที่พักชมวิวในเมืองปัว

5.อุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นป่าไม้ที่ยังคงความสมบูรณ์ และมีพรรณไม้โบราณหายาก โดยเฉพาะต้นชมพูภูคา ซึ่งมีที่ดอยนี้แห่งเดียว และจะบานในเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นมีนาคม
นมัสการพระพุทธมหาพรหมอุดมศักยมุนี ที่มีพระปฤษฎางค์ชนกัน 4 ทิศ
6.บ่อเกลือสินเธาว์ เป็นบ่อเกลือบนภูเขาแห่งเดียวในโลกที่มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ

7.พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดน่าน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของภาคเหนือ ชมตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งในอดีตเป็น “หอคำ” หรือคุ้มของ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ทรงสร้างเป็นที่ประทับเมื่อ พ.ศ. 2446 จึงมีอายุครบ 100 ปีเต็ม ตั้งแต่ปี 2446 ชม “งาช้างดำ” ซึ่งเจ้าผู้ครองนครน่านได้รับมาจากเชียงตุง และกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดน่าน

8.วัดป่าคอวัง สถานที่แห่งหนึ่งที่ปรากฎอยู่ในจิตนิยาย เรื่อง “สิเนหามนตราแห่งลานนา” (ฉากที่หก) ตอนที่นางเอกถูกลงโทษด้วยการถ่วงน้ำกลางป่าคอวังแห่งนี้ (วังวิโมกข์) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ นับเป็นสาขาที่ ๙๙ ของวัดหนองป่าพง โดยมีพระอาจารย์ประสพไชย กันตสีโล (พระอาจารย์เปี๊ยก) ซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ ของพระโพธิญาณเถร หรือหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
ชมความงามของ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “กระซิบรักของปู่ม่านและย่าม่าน”  อันลือชื่อ ถือเป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาชั้นยอดของพุทธศิลปินสกุลช่างน่าน
9.วัดพระธาตุแช่แห้ง ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระธาตุประจำปีเถาะปีนักษัตรชาวลานนา ร่วมพิธีสืบชะตา ตามธรรมเนียมล้านนาโบราณเพื่อความเป็นสิริมงคลสูงสุด ชมความงามอันอลังการของเจดีย์ทรงระฆัง บุด้วยทองจังโก แล้วปิดทองคำเปลวอีกชั้นจนอร่ามทั้งองค์ ทัศนาลายปูนปั้นรูปพญานาค 8 ตน เอาหางเกี่ยวกระหวัดกันที่หน้าบันวิหารหลวง ซึ่งได้รับการยกย่องในความคิดสร้างสรรค์

10.วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร พุทธศิลป์ผสมผสานน่านกับสุโขทัย กราบ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปทองคำปางลีลาที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นเลิศ ชมความงามของหอพระไตรปิฎกที่มีขนาดใหญ่กว่าวิหาร :: Text by FLASH
ต้นชมพูภูคา ซึ่งมีที่ดอยนี้แห่งเดียว และจะบานในเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นมีนาคม
บ่อเกลือสินเธาว์ เป็นบ่อเกลือบนภูเขาแห่งเดียวในโลกที่มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดน่าน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของภาคเหนือ
วัดป่าคอวัง ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ นับเป็นสาขาที่ ๙๙ ของวัดหนองป่าพง โดยมีพระอาจารย์ประสพไชย กันตสีโล (พระอาจารย์เปี๊ยก) ซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ ของพระโพธิญาณเถร หรือหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
วัดพระธาตุแช่แห้ง ปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระธาตุประจำปีเถาะปีนักษัตรชาวลานนา
วัดพระธาตุแช่แห้ง
อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ได้อธิบายเกี่ยวกับพิธีสืบชะตาตามธรรมเนียมล้านนาโบราณเพื่อความเป็นสิริมงคลสูงสุด


Comments are closed.

Pin It