World Celeb

โรคแปลกปลอมในราชวงศ์ยุโรป “ฮีโมฟีเลีย” คร่าชีวิตไปหลายราย

Pinterest LinkedIn Tumblr


ราชวงศ์อังกฤษดูเหมือนจะเคราะห์ซ้ำกรรมซัด “แคเธอรีน” เจ้าหญิงแห่งเวลส์ พระชายาในเจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์ เผยแพร่แถลงการผ่านคลิปวิดีโอระบุว่า พระองค์ทรงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง หลังจากที่ทรงเข้ารับการผ่าตัดช่องท้องในเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าประชวรด้วยโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ถูกตรวจพบขณะที่ทรงเข้ารับการรักษาพระอาการต่อมลูกหมากโต เมื่อไม่นานมานี้

เจ้าหญิงเคท

สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3
มะเร็งไม่ใช่โรคแปลกใหม่ ใครๆ ก็เป็นได้ แต่โรคที่แปลกจริงๆ คือ โรคฮีโมฟีเลีย ที่คร่าชีวิตคนในราชวงศ์มานักต่อนัก ราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียก็ล่มสลายด้วยโรคนี้เช่นกัน “พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2” สละราชสมบัติเพราะป่วยเป็นโรคนี้ สมัยปลายราชวงศ์รัสเซียมีปัญหาถาโถม ไหนจะสงครามกับเยอรมนี บ้านเมืองแร้นแค้น ผู้คนอดอยาก แต่ปัญหาที่รุมเร้าที่สุดคือ โรคร้ายของรัชทายาท หรือตำแหน่ง “ซาร์เรวิช อเล็กเซ” ซึ่งป่วยด้วยโรค “เลือดไหลไม่หยุด” หรือฮีโมฟีเลีย

พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2

ซาร์เรวิช อเล็กเซ
เชื่อกันว่าผู้ที่เป็นต้นตอของการกลายพันธุ์นี้คือ “สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย” ผู้เป็น “สมเด็จยายแห่งยุโรป” ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจะทุกข์ทรมานจากอาการเลือดออก โดยเฉพาะ บริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่อบ่อยครั้ง หากเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ เพียงแค่การเดินชนโต๊ะ ก็อาจจะเกิดภาวะเลือดออกภายในรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ เช่นเดียวกับ “ซาร์เรวิช อเล็กเซ” ที่ถึงขนาดต้องให้กะลาสีหนุ่มร่างกายกำยำ คอยอุ้มตอนออกงาน “ซารีนา อเล็กซานดรา” ผู้เป็นแม่จึงยอมให้ “เกรกอรี รัสปูติน” นักบวชจากไซบีเรียเข้าไปรักษาพระโอรส แม้รัสปูตินจะมีประวัติที่กักขฬะและมักมากในกามก็ตาม รัสปูตินก้าวเข้าไปในชีวิตของราชวงศ์ ได้รับบำเหน็จความชอบและสิทธิพิเศษมากมาย กระทั่งนำประเทศเข้าสู่หายนะและทำให้ราชวงศ์โรมานอฟล่มสลายในที่สุด

สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย
โรคฮีโมฟีเลียมีอิทธิพลสำคัญมาก สำหรับประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เพราะสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียทรงถ่ายทอดพันธุกรรมนี้ไปยังราชวงศ์ต่างๆ ในยุโรป ทั้งสเปน เยอรมนี และรัสเซีย ผ่านทางพระธิดาสองในห้าพระองค์คือ “เจ้าหญิงอลิซแห่งสหราชอาณาจักร” และ “เจ้าหญิงเบียทริซแห่งสหราชอาณาจักร” รวมถึง “เจ้าชายลีโอโพลด์” โอรสพระองค์เล็ก ก็ประชวรด้วยโรคฮีโมฟีเลีย ซึ่งในครั้งหนึ่งถูกเรียกว่า “โรคราชวงศ์” (Royal Disease)

เจ้าชายลีโอโพลด์ ประชวรเป็นโรคนี้ตอนอายุ 31 ทรงลื่นล้มบาดเจ็บที่เข่าและศีรษะ จากนั้นไม่กี่ชั่วโมงก็สิ้นพระชนม์ด้วยภาวะเลือดออกในสมอง

เจ้าชายฟรีดริชแห่งเฮสส์และไรน์ ทรงพลัดตกหน้าต่างทำให้เลือดออกภายในไม่หยุด และสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษาเพียง 2 ปี

เจ้าชายไฮน์ริชแห่งปรัสเซีย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 4 ปี

เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งเท็ค สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 20 ปี

เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งสเปน และอัสตูเรียส สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 31 ปี จากอาการตกเลือดในอุบัติเหตุทางรถยนต์

เจ้าชายกอนซาโลแห่งสเปน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 19 ปี และเจ้าชายลีโอโพลด์แห่งแบตเทนเบิร์ก สิ้นพระชนม์จากการผ่าตัดหัวเข่า

Comments are closed.

Pin It