World Celeb

“อิซเซ่ มิยาเกะ” ดีไซเนอร์เจ้าพ่อชุดพลีต กับเสี้ยวชีวิตที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

Pinterest LinkedIn Tumblr


กลายเป็นข่าวเศร้าของวงการแฟชั่นกับการสูญเสียดีไซเนอร์คนเก่งผู้เป็นตำนานอย่าง “อิซเซ่ มิยาเกะ” เจ้าพ่อชุดพลีตที่โด่งดังไปทั้งโลก ด้วยสาเหตุของโรคมะเร็งตับในวัย 84 ปี วันนี้เราจะพาคุณไปย้อนประวัติชีวิตของเขา ที่ยังมีอีกหลากหลายแง่มุมที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน


– ชื่อจริงของเขาไม่ใช่ อิซเซ่ มิยาเกะ แต่เป็น คาซูนารุ มิยาเกะ ซึ่งในตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น คำว่า “คาซูนารุ” สามารถอ่านอีกอย่างได้ว่า “อิซเซ่” ซึ่ง


– เขาเกิดที่ฮิโรชิม่า และในวัย 7 ขวบ เขาเป็นผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองโดนบอมม์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณแม่ของเขาเสียจากกัมมันตภาพรังสี ตัวเขาเองก็ได้รับผลกระทบเป็นโรคเกี่ยวกับไขกระดูก


– หลังเรียนจบด้านการออกแบบที่กรุงโตเกียว เขาก็ได้ไปศึกษาต่อด้านเสื้อผ้าที่ปารีส และได้ทำงานให้กับแบรนด์ดังอย่าง กี ลาโรช, จีวองชี่ ก่อนจะสร้างแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งสร้างชื่อจนทำให้เขานับเป็นใบเบิกทางให้กับเหล่าดีไซเนอร์ญี่ปุ่นได้ก้าวไปเฉิดฉายบนเวทีแฟชั่นโลกในเวลาต่อมา


– ผลงานสำคัญที่ทุกคนรู้จักและกลายเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ คือ ชุดผ้าพลีต ที่มีคุณสมบัติพิเศษไม่เหมือนใคร เพราะในความเรียบง่ายแต่หรูหรา ไม่มีกระดุม ซิป หรือตะขอเกี่ยวใดๆ เป็นผ้าเพียงพื้นเดียวแต่สามารถสวมใส่และดูมีมิติได้ทางรูปทรง และรูปร่าง เกิดจากการออกแบบให้กับนักเต้นคณะบัลเล่ต์ จึงได้สร้างสรรค์เสื้อผ้าที่สวมใส่สะดวกสบาย เคลื่อนไหวได้ดี ตามคอนเซ็ปต์ “มอบอิสระให้กับผู้สวมใส่”


– ผลงานการออกแบบของเขาเป็นการผสมผสานของ เทคโนโลยีและศิลปะ เสื้อผ้าเขาเกิดในแล็บ ใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ ครีเอทสิ่งแปลกๆ ต่างจากเดิมๆ อย่างผ้าพลีตของเขาที่รอยพับ คมชัด แถมเนื้อผ้ายังอยู่ตัว ทั้งบางเบา แต่ไม่เสียทรง และไม่ยับ


– ส่วนในประเทศไทย ต้องยกให้กับผลงานการออกแบบกระเป๋า Bao Bao กระเป๋าทรงฟรีฟอร์มที่สามารถพับซ้อนทิ้งตัวให้เป็นหลากหลายรูปทรง


– อีกผลงานหนึ่งที่หลายคนอาจจะชินตา แต่ไม่รู้ว่านี่คือผลงานของเขา คือ “เสื้อยืดคอเต่าสีดำ” ชุดยูนิฟอร์มประจำตัวของสตีฟ จ๊อบส์ แห่งแอปเปิ้ล


– ปรัชญาแห่งเสื้อผ้าของเขา คือ การสอดประสานของร่างกาย กับ เสื้อผ้า ซึ่งเขาไม่จำกัดอยู่แต่การทำเสื้อผ้าแบรนด์หรูให้เซเลบเดินพรมแดงเท่านั้น แต่ยังสร้างสรรค์ได้สำหรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่นักเต้นไปจนถึงคนงาน โดยเขาออกแบบให้ชุดยูนิฟอร์มให้กับโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของโซนี่

Comments are closed.

Pin It