Lifestyle

‘ปัญญาคลาสสิก’ ของเด็กรุ่นใหม่ที่พวกผู้ใหญ่ชอบบ่นกัน

Pinterest LinkedIn Tumblr


>>นิตยสารคิด (Creative Thailand) ฉบับเดือนมิถุนายน 2560 พบกันในธีม Life of Y

Cover Story – “โอ๊ย เด็กสมัยนี้นะ…” หากนี่คือประโยคเริ่มต้นบทสนทนาของคนวัย 30 หรือ 40 ปีขึ้นไป เชื่อได้เลยว่าสิ่งที่ตามมาคือการพร่ำบ่นยาวเหยียดถึงเด็กรุ่นใหม่ หรือที่เรียกกันว่าเด็กรุ่นเจนวายหรือเจนซี บ้างก็บ่นลูกหลานตัวเอง บ้างก็ระบายความเหนื่อยใจถึงลูกน้อง บ้างก็กล่าวรวมถึงวัยรุ่นยุคนี้ ประเด็นการบ่นมีตั้งแต่ลักษณะนิสัย การแสดงออก ไปจนถึงการใช้ชีวิต ยิ่งถ้าจับกลุ่มคุยกันเป็นหมู่คณะรับรองได้ว่า การเมาท์มอยจะยาวเป็นชั่วโมง และคำว่า ‘เด็กสมัยนี้’ จะถูกเอ่ยขึ้นมาไม่ต่ำกว่ายี่สิบครั้ง

ทว่าหากลองลดทอนความหงุดหงิดลง แล้วมองแบบถอยห่างออกมาสักหน่อย เราจะพบว่าโดยมากแล้วฝ่ายผู้ใหญ่มักมีมุมมองต่อคนรุ่นใหม่แบบแนวดิ่ง มองบนลงล่าง คิดว่าตัวเองอยู่เหนือกว่า หรือความคิดความเชื่อของตัวเองถูกกว่า พฤติกรรมหรือการกระทำต่างๆ ของเจนวายที่ต่างจากสิ่งที่ตัวเองคุ้นชินถูกเหมารวมว่าเป็น ‘ปัญหา’ ไปเสียหมด โดยที่เราไม่ได้เว้นช่องว่างไว้คิดเลยว่า มันอาจมองได้อีกแบบว่าเป็น ‘ความแตกต่าง’ หรือ ‘ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง’ หรือกระทั่งการลองไตร่ตรองว่าทำไม หรือเพราะอะไรเจนวายถึงมีลักษณะแบบนั้น

ในฐานะอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเจนวายอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผมเลยขอเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ ‘ปัญญาคลาสสิก’ ของเด็กรุ่นใหม่ที่พวกผู้ใหญ่ชอบบ่นกัน แต่ทั้งนี้ขอบอกไว้ก่อนว่า มันอาจไม่ได้ทำให้คุณผู้อ่านเข้าใจเจนวายอย่างกระจ่างแจ้ง (เพราะผู้เขียนเองก็อาจยังไปไม่ถึงจุดนั้น) แต่อย่างน้อยมันก็อาจช่วยให้คุณพูดประโยคว่า “โอ๊ย เด็กสมัยนี้” น้อยลงบ้าง 🙂

Insight – ผมผิดตรงไหน ? เมื่อนึกถึงเจเนอเรชันวายที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่ตลาดแรงงานและเป็นลูกค้ารายใหญ่ในอนาคต คุณคิดถึงอะไรบ้าง เพราะภาพที่ถูกนำเสนอเกี่ยวกับเจเนอเรชันนี้มักเป็นภาพการที่พวกเขาไม่สนใจใครนอกจากตัวเอง อยากมีชื่อเสียงเร็วๆ ด้วยการลงมือทำหลายสิ่งหลายอย่างทันที ภาพจำเหล่านี้กำลังก่อเป็นทัศนคติด้านลบให้เกิดขึ้นในใจของเพื่อนร่วมงานต่างรุ่น แล้วทางออกขององค์กรสมัยใหม่ที่ต้องอ้าแขนรับคนกลุ่มนี้ จึงไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำความเข้าใจว่า “พวกเขาไม่ได้มีอะไรผิดปกติถ้าหากเติบโตมาในยุคนี้”

Creative Startup – DuckUnit เพราะแสงคือออกซิเจน แน่นอนว่าองค์ประกอบหลักในงานคอนเสิร์ตต่างๆ คือ ศิลปินและเสียงดนตรี แต่จะมีใครสังเกตหรือไม่ว่า “แสง” ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับคนดู เมื่อผสมผสานการออกแบบแสงร่วมกับเทคนิคต่างๆ ยิ่งทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์และความรู้สึกร่วมที่แตกต่างกัน แสงที่เรามองเห็นจึงไม่ได้ทำหน้าที่ให้ความสว่างเท่านั้น แต่ยังสะท้อนอัตลักษณ์และตัวตนของงานต่างๆ

อ่านและดาวน์โหลดฟรีได้ที่ : http://www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/index.php

Comments are closed.

Pin It