Art Eye View

กล้องถ่ายภาพ เครื่องมือของลัทธิล่าอาณานิคม ?

Pinterest LinkedIn Tumblr


ART EYE VIEW—“กล้องถ่ายภาพ เครื่องมือของลัทธิล่าอาณานิคม” หนึ่งในหัวข้อเสวนา วาระก่อตั้งภาควิชาสื่อผสม คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งส่วนหนึ่งคือการเรียนการสอนด้าน วิชาถ่ายภาพ (โดยที่มุ่งเน้นไปที่การนำเสนอแนวความคิดผ่านภาพถ่ายศิลปะ มากกว่าเทคนิคการถ่ายาภพ)

ถือเป็นการตั้งหัวข้อเสวนาที่ดึงให้คนสนใจไปฟังจำนวนไม่น้อย ณ หอประชุม ม.ศิลปากร วังท่าพระ รวมทั้งในเวทีเสวนา ซึ่งมี สืบสกุล ศรัณพฤฒิ อาจารย์สอนวิชาถ่ายภาพ เป็นวิทยากร ได้มีการตั้งคำถามและยกตัวอย่างกรณีที่ช่างภาพฝรั่งหลายๆคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศตะวันออกในยุคก่อน

รวมถึง จอห์น ทอมสัน ผู้ที่ภาพถ่ายของเขากำลังจัดแสดงให้ชม ณ พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป ถ.เจ้าฟ้า ว่าช่างภาพเหล่านี้มีจุดประสงค์อื่นแอบแฝงหรือไม่ และทำไมภาพถึงพยายามถ่ายให้ได้รายละเอียด มากกว่าจัดถ่ายให้งาม และอาจเป็นไปได้หรือไม่ว่าจุดประสงค์แท้จริงนั้น เกิดขึ้นนับตั้งแต่คิดจะผลิตกล้องถ่ายภาพขึ้น

อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดวิทยากรสรุปว่า ทั้งชื่อหัวข้อเสวนาและข้อมูลต่างๆ เป็นแค่การตั้งข้อสงสัยของวิทยากรเอง

“มันเป็นความสงสัยปนกับว่ารู้สึก นับตั้งแต่เรื่องการสร้างกล้องถ่ายภาพแล้ว และคิดเทคนิคการถ่ายภาพแล้ว ไม่ใช่เฉพาะว่าการเข้ามาของช่างภาพ

กล้องถ่ายภาพเป็นสิ่งที่อยู่มานานแล้ว แต่ไม่มีการบันทึกภาพได้ แล้วพอมีการปฏิวัติอุตสหกรรม คิดสารเคมี มีความรู้ทางด้านเคมี มันก็มีความต้องการอย่างยิ่งยวดที่จะต้องทำให้ เป็นการมิกระหว่างความรู้ทางด้านฟิสิกส์กับทางด้านเคมี คือการสร้างกล้อง เพื่อให้เกิดผลบางอย่างขึ้นมา

มันเหมือนในยุคปัจจุบัน ประเทศหลายประเทศพยายามที่จะโอเพ่นข่าวสารข้อมูลให้กว้างที่สุด ส่วนบางประเทศพยายามปิดให้มากที่สุด

การเปิดหรือการปิดมันมีผล การเกิดกล้องถ่ายภาพมีผลต่อการปฏิวัติในโลกสองถึงสามครั้ง เพราะว่าการผลิตกล้องให้คนได้ใช้มากเท่าไหร่ หรือถ่ายภาพได้มากเท่าไหร่ มันพลิกโลกได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น เพราะปัจจุบันเรารู้อยู่แล้ว เรามีกล้องกันทุกคน สุดท้ายมันก็กลายเป็นดาบสองคม เพราะเราไม่สามารถที่จะปกปิดกันได้อีกแล้ว

ภาพถ่ายมันเป็นตัวต่อรองอะไรบางอย่างได้ เป็นอาวุธสำคัญของคนในยุคปัจจุบัน ส่วนในอดีตนั้น ถ้าสืบลึกเข้าไป บางทีอาจจะต้องสืบประวัติช่างภาพ ซึ่งคนไม่เคยสืบ….. สรุปก็คือ ผมสงสัยครับ”

แต่ไม่ว่าคำตอบของวิทยากรจะเป็นเช่นกัน แต่การตั้งหัวข้อเสวนาขึ้นมาครั้งนี้ ก็ทำให้การชมภาพถ่ายโบราณของหลายคน ขยายความอยากรู้อยากเห็นมากไปกว่า สมัยก่อนประเทศเรา ประเทศนั้น ประเทศนี้ มีชีวิตความเป็นอยู่แบบนี้เองหรือ



ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW ของ www.astvmanager.com และ ART EYE VIEW เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: thinksea@hotmail.com

และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews

Comments are closed.

Pin It