Art Eye View

จากสมอง มาใจ สู่ปลายนิ้ว “ศ.ศิลป์ พีระศรี” ในภาพวาดศิลปินอาวุโส “อุดมลักษณ์ ทรงสุวรรณ”

Pinterest LinkedIn Tumblr


ART EYE VIEW— “ท่านให้ความสำคัญกับพื้นฐานที่คนทำงานศิลปะทุกคนจะต้องมี บางคนพื้นฐานมีอยู่เพียงแค่นี้ แล้วกระโดดข้ามขั้นไปเลย แต่อาจารย์ศิลป์ท่านไม่สอนแบบนั้น ท่านจะวางรากฐานให้กับลูกศิษย์ไปทีละขั้นตอน สอนให้ study หรือ ศึกษาให้แน่นอน ให้รู้จริงก่อนว่าของแต่ละสิ่งมีชีวิตอย่างไร ก่อนจะสร้างงานศิลปะ เพราะของแต่ละสิ่งไม่เหมือนกัน อย่างผมชอบดอกไม้ วาดดอกไม้ ผมก็ต้องศึกษาให้แน่ใจก่อนว่าดอกไม้แต่ละชนิดเป็นอย่างไร นอกจากพื้นฐานต้องแน่นแล้ว ท่านยังให้ความสำคัญการ Drawing หรือ วาดเส้น เป็นที่สุด เพราะถ้าเราวาดเส้นได้เก่ง เราสามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง”

อุดมลักษณ์ ทรงสุวรรณ ศิลปินอาวุโส วัย 75 ปี (เพื่อนร่วมรุ่นโรงแรียนศิลปศึกษา(เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร) ของ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและศิลปินชื่อดังอีกหลายท่าน)  กล่าวในฐานะลูกศิษย์คนหนึ่งที่เคยมีโอกาสเรียนศิลปะกับ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาเลียนผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้วางรากฐานให้แก่วงการศิลปะสมัยใหม่ของไทย

ด้วยเหตุนี้ในนิทรรศการศิลปะอลังการ 4  ศิลปะตามแนวคำสอนของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี” นิทรรศการแสดงเดี่ยวศิลปะครั้งล่าสุดของอุดมลักษณ์ นอกจากจะจัดแสดงผลงานศิลปะที่อุดมลักษณ์สร้างขึ้นตามแนวทางที่ ศ.ศิลป์ ได้สั่งสอนมา และสะท้อนถึงตัวตนในหลายๆด้านของอุดมลักษณ์ ยังมีภาพวาดของ ศ.ศิลป์ พีระศรี ในอิริยาบถขณะกำลังสร้างงานประติมากรรมมาจัดแสดงด้วย “เพราะในด้านของการเป็นศิลปิน คนส่วนใหญ่รู้จักท่านในฐานะประติมากร”
 
(ผลงานประติมากรรมที่โดดเด่นในประเทศไทย ของ ศ.ศิลป์ พีระศรี ได้แก่ พระพุทธรูปประธาน ที่พุทธมณฑล, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย,พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่วงเวียนใหญ่,พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์)

ศิลปินอาวุโสบอกเล่าเพิ่มเติมถึงความประทับใจในด้านอื่นๆที่มีต่อ ศ.ศิลป์ อีกด้วยว่า “ผมว่าท่านเป็นเหมือนพ่ออีกคนหนึ่งของเรา เรารักท่าน เทิดทูนท่าน มีความสุขที่ได้อยู่ใกล้ท่าน สำหรับผมนะครับ ท่านมีความเมตตา เอ็นดู เหมือนเราเป็นเด็กคนหนึ่ง ท่านสอนทุกอย่าง และแต่ละคนที่ท่านสอน ท่านจะดูว่าคนไหนมีแววไปทางไหน แล้วพยายามส่งเสริมให้ไปทางนั้น”

ศ.ศิลป์ เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 แต่ในวันที่ 15 กันยายน ของทุกๆปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิด ถูกกำหนดให้เป็น “วันศิลป์ พีระศรี” เพื่อรำลึกท่าน

สำหรับอุดมลักษณ์แล้ว วิธีการที่ลูกศิษย์คนหนึ่งจะรำลึกถึงพระคุณของ ศ.ศิลป์ที่ดีที่สุดคือการทำงานศิลปะ “ท่านเคยสั่งว่า ถ้ารักท่าน ต้องทำงาน ผมเขียนไว้ในสูจิบัตรแสดงงานครั้งนี้ด้วยว่า …แม้ท่านจะจากพวกเราไปนานแล้ว แต่คำพูดของอาจารย์ยังเตือนสติพวกเราชาวศิลปากรทุกคนว่า ถ้านายรักฉัน นายต้องทำงาน ถ้านายไม่ทำงาน พรุ่งนี้ก็สายไปแล้ว”

นอกจากภาพวาด ศ.ศิลป์ ในนิทรรศการครั้งนี้ อุดมลักษณ์ยังมีภาพวาด เฟื้อ หริพิทักษ์ อีกบุคคลที่เขาเคารพรักและยกให้เป็นครูทางด้านศิลปะอีกคนของตนเองมาจัดแสดงด้วย

“ผมเรียนกับอาจารย์ศิลป์อยู่ 3 ปี คือตอนเรียนมหาวิทยาลัยปี 1- 3 หลังจากอาจารย์ศิลป์จากไป ชีวิตผมเหมือนเรือแตก ไม่อยากเรียนแล้ว ไม่มีใจที่จะเรียนต่อไป เข้าใจไหม พอดีอาจารย์เฟื้อท่านเพิ่งกลับมาจากเมืองนอก แล้วมาสอนเรา พอได้เห็นฝีมือท่าน ผมจึงรู้สึกว่าผมพบคนที่จะมาแทนอาจารย์ศิลป์ได้แล้ว เพราะท่านเป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะได้ในแบบที่ผมฝันไว้ การทำงานศิลปะ หรือการจะเขียนภาพใครมันต้องมีใจ ต้องอยากทำ ผมเขียนภาพอาจารย์ศิลป์และอาจารย์เฟื้อ เพราะผมฝังใจ”

ภาพวาดของบุคคลทั้งสองรวมถึงภาพวาดเหมือนตัวเอง (self portrait) อีกหนึ่งภาพ เป็นภาพวาดเทคนิคสีน้ำมันที่อุดมลักษณ์ไม่ได้วาดด้วยพู่กัน แต่วาดโดยวิธีการปาดด้วยปลายนิ้ว ซึ่งห่อด้วยผ้า

“ลงพื้นผ้าใบด้วยสีน้ำมันทั้งภาพ แล้วรีบใช้ผ้าห่อมือปาดเป็นภาพก่อนที่สีจะแห้ง เป็นภาพที่เขียนยากมาก ถ้า drawing ไม่แม่นเขียนไม่ได้ เพราะต้องเขียนแบบทันควันและเช็ดด้วยความรู้สึก สามอย่างต้องสัมพันธ์กัน จากสมอง  มาใจ สู่ปลายนิ้ว”

อย่างไรก็ตามอุดมลักษณ์เชื่อว่า ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของฝีมือเท่านั้นที่ทำให้ตนสามารถเขียนภาพออกมาได้ดีราวกับมีชีวิตจิตใจ แต่ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะได้รับแรงดลใจจากวิญญาณของอาจารย์ที่ตนเคารพรักทั้งสองท่านด้วย

นิทรรศการ “ศิลปะอลังการ 4 ศิลปะตามแนวคำสอนของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย อุดมลักษณ์ ทรงสุวรรณ จัดแสดงระหว่างวันที่ 3 กันยายน – 30 ตุลาคม พ.ศ.2559 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถ.เจ้าฟ้า

ไม่เพียงแต่เรื่องราวและขนาดของภาพวาดแต่ละภาพจะเข้ากันได้ดีกับความอลังการของชื่อนิทรรศการ ในส่วนของกรอปรูปที่ศิลปินลงมือทำเองทุกขั้นตอนโดยศึกษามาจากช่างโบราณ ยังช่วยตอกย้ำถึงความอลังการของนิทรรศการครั้งนี้ได้ดีอีกด้วย
 



ART EYE VIEW— “ท่านให้ความสำคัญกับพื้นฐานที่คนทำงานศิลปะทุกคนจะต้องมี บางคนพื้นฐานมีอยู่เพียงแค่นี้ แล้วกระโดดข้ามขั้นไปเลย แต่อาจารย์ศิลป์ท่านไม่สอนแบบนั้น ท่านจะวางรากฐานให้กับลูกศิษย์ไปทีละขั้นตอน สอนให้ study หรือ ศึกษาให้แน่นอน ให้รู้จริงก่อนว่าของแต่ละสิ่งมีชีวิตอย่างไร ก่อนจะสร้างงานศิลปะ เพราะของแต่ละสิ่งไม่เหมือนกัน อย่างผมชอบดอกไม้ วาดดอกไม้ ผมก็ต้องศึกษาให้แน่ใจก่อนว่าดอกไม้แต่ละชนิดเป็นอย่างไร นอกจากพื้นฐานต้องแน่นแล้ว ท่านยังให้ความสำคัญการ Drawing หรือ วาดเส้น เป็นที่สุด เพราะถ้าเราวาดเส้นได้เก่ง เราสามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง”

อุดมลักษณ์ ทรงสุวรรณ ศิลปินอาวุโส วัย 75 ปี (เพื่อนร่วมรุ่นโรงแรียนศิลปศึกษา(เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร) ของ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและศิลปินชื่อดังอีกหลายท่าน)  กล่าวในฐานะลูกศิษย์คนหนึ่งที่เคยมีโอกาสเรียนศิลปะกับ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาเลียนผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้วางรากฐานให้แก่วงการศิลปะสมัยใหม่ของไทย

ด้วยเหตุนี้ในนิทรรศการศิลปะอลังการ 4  ศิลปะตามแนวคำสอนของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี” นิทรรศการแสดงเดี่ยวศิลปะครั้งล่าสุดของอุดมลักษณ์ นอกจากจะจัดแสดงผลงานศิลปะที่อุดมลักษณ์สร้างขึ้นตามแนวทางที่ ศ.ศิลป์ ได้สั่งสอนมา และสะท้อนถึงตัวตนในหลายๆด้านของอุดมลักษณ์ ยังมีภาพวาดของ ศ.ศิลป์ พีระศรี ในอิริยาบถขณะกำลังสร้างงานประติมากรรมมาจัดแสดงด้วย “เพราะในด้านของการเป็นศิลปิน คนส่วนใหญ่รู้จักท่านในฐานะประติมากร”
 
(ผลงานประติมากรรมที่โดดเด่นในประเทศไทย ของ ศ.ศิลป์ พีระศรี ได้แก่ พระพุทธรูปประธาน ที่พุทธมณฑล, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย,พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่วงเวียนใหญ่,พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช,พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และพระบรมราชานุสาวรีย์ของกษัตริย์ไทยอีกหลายพระองค์)

ศิลปินอาวุโสบอกเล่าเพิ่มเติมถึงความประทับใจในด้านอื่นๆที่มีต่อ ศ.ศิลป์ อีกด้วยว่า “ผมว่าท่านเป็นเหมือนพ่ออีกคนหนึ่งของเรา เรารักท่าน เทิดทูนท่าน มีความสุขที่ได้อยู่ใกล้ท่าน สำหรับผมนะครับ ท่านมีความเมตตา เอ็นดู เหมือนเราเป็นเด็กคนหนึ่ง ท่านสอนทุกอย่าง และแต่ละคนที่ท่านสอน ท่านจะดูว่าคนไหนมีแววไปทางไหน แล้วพยายามส่งเสริมให้ไปทางนั้น”

ศ.ศิลป์ เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 แต่ในวันที่ 15 กันยายน ของทุกๆปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิด ถูกกำหนดให้เป็น “วันศิลป์ พีระศรี” เพื่อรำลึกท่าน

สำหรับอุดมลักษณ์แล้ว วิธีการที่ลูกศิษย์คนหนึ่งจะรำลึกถึงพระคุณของ ศ.ศิลป์ที่ดีที่สุดคือการทำงานศิลปะ “ท่านเคยสั่งว่า ถ้ารักท่าน ต้องทำงาน ผมเขียนไว้ในสูจิบัตรแสดงงานครั้งนี้ด้วยว่า …แม้ท่านจะจากพวกเราไปนานแล้ว แต่คำพูดของอาจารย์ยังเตือนสติพวกเราชาวศิลปากรทุกคนว่า ถ้านายรักฉัน นายต้องทำงาน ถ้านายไม่ทำงาน พรุ่งนี้ก็สายไปแล้ว”

นอกจากภาพวาด ศ.ศิลป์ ในนิทรรศการครั้งนี้ อุดมลักษณ์ยังมีภาพวาด เฟื้อ หริพิทักษ์ อีกบุคคลที่เขาเคารพรักและยกให้เป็นครูทางด้านศิลปะอีกคนของตนเองมาจัดแสดงด้วย

“ผมเรียนกับอาจารย์ศิลป์อยู่ 3 ปี คือตอนเรียนมหาวิทยาลัยปี 1- 3 หลังจากอาจารย์ศิลป์จากไป ชีวิตผมเหมือนเรือแตก ไม่อยากเรียนแล้ว ไม่มีใจที่จะเรียนต่อไป เข้าใจไหม พอดีอาจารย์เฟื้อท่านเพิ่งกลับมาจากเมืองนอก แล้วมาสอนเรา พอได้เห็นฝีมือท่าน ผมจึงรู้สึกว่าผมพบคนที่จะมาแทนอาจารย์ศิลป์ได้แล้ว เพราะท่านเป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะได้ในแบบที่ผมฝันไว้ การทำงานศิลปะ หรือการจะเขียนภาพใครมันต้องมีใจ ต้องอยากทำ ผมเขียนภาพอาจารย์ศิลป์และอาจารย์เฟื้อ เพราะผมฝังใจ”

ภาพวาดของบุคคลทั้งสองรวมถึงภาพวาดเหมือนตัวเอง (self portrait) อีกหนึ่งภาพ เป็นภาพวาดเทคนิคสีน้ำมันที่อุดมลักษณ์ไม่ได้วาดด้วยพู่กัน แต่วาดโดยวิธีการปาดด้วยปลายนิ้ว ซึ่งห่อด้วยผ้า

“ลงพื้นผ้าใบด้วยสีน้ำมันทั้งภาพ แล้วรีบใช้ผ้าห่อมือปาดเป็นภาพก่อนที่สีจะแห้ง เป็นภาพที่เขียนยากมาก ถ้า drawing ไม่แม่นเขียนไม่ได้ เพราะต้องเขียนแบบทันควันและเช็ดด้วยความรู้สึก สามอย่างต้องสัมพันธ์กัน จากสมอง  มาใจ สู่ปลายนิ้ว”

อย่างไรก็ตามอุดมลักษณ์เชื่อว่า ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของฝีมือเท่านั้นที่ทำให้ตนสามารถเขียนภาพออกมาได้ดีราวกับมีชีวิตจิตใจ แต่ส่วนหนึ่งยังเป็นเพราะได้รับแรงดลใจจากวิญญาณของอาจารย์ที่ตนเคารพรักทั้งสองท่านด้วย

นิทรรศการ “ศิลปะอลังการ 4 ศิลปะตามแนวคำสอนของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย อุดมลักษณ์ ทรงสุวรรณ จัดแสดงระหว่างวันที่ 3 กันยายน – 30 ตุลาคม พ.ศ.2559 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถ.เจ้าฟ้า

ไม่เพียงแต่เรื่องราวและขนาดของภาพวาดแต่ละภาพจะเข้ากันได้ดีกับความอลังการของชื่อนิทรรศการ ในส่วนของกรอปรูปที่ศิลปินลงมือทำเองทุกขั้นตอนโดยศึกษามาจากช่างโบราณ ยังช่วยตอกย้ำถึงความอลังการของนิทรรศการครั้งนี้ได้ดีอีกด้วย
 














ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW ของ www.manager.co.th Email: thinksea@hotmail.com

และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews

Comments are closed.

Pin It