Advice

“การนอนหลับ” อย่างมีคุณภาพ เสมือนน้ำพุแห่งความเยาว์วัย

Pinterest LinkedIn Tumblr


การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพ พอๆ กับอาหารและน้ำ เพราะในขณะที่นอนหลับสมองจะเกิดการเชื่อมโยงและได้ซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้น การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ ความทรงจำและสมาธิ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ซึมเศร้าและโรคอ้วน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของนาฬิกาชีวภาพ ที่ประกอบด้วยปัจจัยทางชีวภาพภายในร่างกาย ร่วมกับปัจจัยแวดล้อม เช่น แสงและอุณหภูมิ ที่มาพร้อมกับดวงอาทิตย์ ทำให้รู้สึกง่วงตอนกลางคืนและตื่นตัวในตอนเช้า


การจัดการนาฬิกาชีวภาพทำได้ด้วยการ กำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เหมาะสมสม่ำเสมอ, หลีกเลี่ยงการงีบหลับตอนกลางวัน, ออกกำลังกายระหว่างวัน และใช้เตียงเพื่อนอนเท่านั้น ไม่ทำงานหรือกินอาหารบนเตียง

หากนอนไม่หลับภายใน 20 นาที ให้ลุกออกจากเตียงและกลับมานอนใหม่เมื่อรู้สึกง่วงเท่านั้น แม้ว่าจะทำให้เหนื่อยล้าในคืนถัดไป แต่หลังจากนิสัยการนอนเริ่มดีขึ้น เวลาในการนอนก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตาม


การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะมีผลต่อการลดลงของฮอร์โมนเลปติน ทำให้ความหิวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการอดนอนยังนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนความหิว หรือเกรลิน ทำให้คนที่อดนอนมักอยากกินของว่างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพราะร่างกายต้องการรักษาระดับพลังงานให้สูงขึ้น

การเข้านอนโดยที่ท้องอิ่มมากไปอาจทำให้อึดอัดและอาหารไม่ย่อย แต่ถ้ากินน้อยเกินไปอาจหิวตอนนอนได้ ควรงดไขมันและโปรตีนในปริมาณมากตอนมื้อค่ำ เพราะไขมันจะย่อยนาน ส่วนโปรตีนจะกระตุ้นให้สมองตื่นตัว ในทางกลับกันคาร์โบไฮเดรตจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับ สำหรับ โอเมก้า 3 ในปลา ถั่วและเมล็ดพืช จะมีผลต่อการปล่อยฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ หากดื่มกาแฟประจำอาจไม่ส่งผลต่อการนอนมากนัก แต่คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ก็ยังรบกวนการนอนในช่วงที่หลับลึกที่สุดได้ นอกจากนี้ อย่าดื่มของเหลวมากเกินไปในตอนเย็น ควรเลือกดื่มในปริมาณมากระหว่างวันแทน


สำหรับเวลาที่ดีที่สุดในการออกกำลังกายคือ เวลาที่รู้สึกดีและสะดวกที่สุด ซึ่งรูปแบบก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคน หากอยากพักผ่อนจากวันที่เหนื่อยล้า อาจเลือกโยคะ พิลาทิส การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือการเดินสบายๆ เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

Comments are closed.

Pin It