รู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วอนุมูลอิสระส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย? คำตอบคือ เมื่อร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป จนเข้าสู่ภาวะไม่สมดุลกับสารต้านอนุมูลอิสระ จะทำให้เกิด “ภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative stress)” ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ทั่วร่างกาย และเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก่ชราและเกิดโรคที่สัมพันธ์กับอายุด้วย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ อัลไซเมอร์ ไตวายเรื้อรัง รูมาตอยด์ และเบาหวาน เป็นต้น
ดอน พูซาเทอริ นักวิทยาศาสตร์อาวุโส กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาพืชพรรณนิวทริไลท์ จากสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ ค้นพบว่า ไฟโตนิวเทรียนท์สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ 2 แบบคือ การต้านอนุมูลอิสระเชิงรับ โดยพืชให้ไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถกำจัดและลดความรุนแรงของอนุมูลอิสระในร่างกายได้โดยตรง และการต้านอนุมูลอิสระเชิงรุก โดยไฟโตนิวเทรียนท์บางชนิดกระตุ้นระบบป้องกันด้วยสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย
ถึงแม้ว่าจะรับประทานผักผลไม้ทุกวัน แต่จริงๆ แล้วสัดส่วนที่ถูกต้องคือ ต้องรับประทานผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่งของอาหารในแต่ละมื้อ และครบทั้ง 5 สี เพื่อให้ได้รับไฟโตนิวเทรียนท์ครบถ้วน ดังนี้
1. สีขาว เช่น หัวหอม กระเทียม มีสารเควอซิทิน ช่วยเสริมสุขภาพกระดูก เสริมสุขภาพการไหลเวียนโลหิต สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง
2. สีส้ม เช่น ส้ม แครอท ฟักทอง มีสารเบต้า-แคโรทีน เฮสเพอริดิน ช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เสริมสุขภาพดวงตา รักษาความชุ่มชื้นของผิว ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างสมบูรณ์แข็งแรง
3. สีแดง เช่น มะเขือเทศ เชอร์รี มีสารไลโคปีน ปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ ช่วยสุขภาพต่อมลูกหมาก สุขภาพดีเอ็นเอ เสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
4. สีม่วง เช่น องุ่น บลูเบอร์รี มีสารแอนโธไซยานิน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยระบบความจำ เสริมสุขภาพหัวใจ สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง
5. สีเขียว เช่น คะน้า ผักโขม มีสารไอโซฟลาโวน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสุขภาพเซลล์ สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง สุขภาพปอด และส่งเสริมการทำงานของตับ
นอกจากนี้ ไฟโตเบลนด์ (Phyto Blend) ที่ประกอบด้วย โรสแมรี, ขมิ้นชัน และโซโฟรา จาโปนิกา เมื่อนำมารวมกันในอัตราส่วนและความเข้มข้นที่เหมาะสม จะทำให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระทรงพลัง!
ลองสังเกตดูว่าในแต่ละวันร่างกายเราได้รับผักผลไม้ครบ 5 กำมือและครบทั้ง 5 สีแล้วหรือยัง ถ้ายัง ก็เริ่มต้นเลย ช้ายังดีกว่าไม่เริ่มต้นทำ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง
** ที่มา : Health Systems Research Institute (HSRI); 2014
Advice
Comments are closed.