อย่าชะล่าใจว่าอายุยังน้อยจะไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้ เพราะปัจจัยการเกิดโรคไม่ได้อยู่ที่อายุเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่เกิดเคยอุบัติเหตุมาก่อน, โรคประจำตัวบางชนิด เช่น รูมาตอยด์, โรคเลือดบางชนิดที่ไม่ค่อยพบในเมืองไทย เช่น เลือดข้นผิดปกติ รวมถึงผู้ที่ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่จัด
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ เป็นการผ่าตัดทางเลือกใหม่ที่แตกต่างจากวิธีการผ่าตัดด้วยวิธีดั้งเดิม ซึ่งต้องตัดกล้ามเนื้อรอบๆ สะโพกออก ข้อดีของการผ่าตัดแนวใหม่นี้คือ จะไม่มีการตัดกล้ามเนื้อใดๆ ขณะผ่าตัด แผลเล็กลง คนไข้ฟืนตัวได้เร็วขึ้น สามารถเดินได้โดยไม่มีการเอียงของลำตัว (Limping) หลังผ่าตัด และไม่มีความจำเป็นต้องระวังข้อสะโพกเทียมจะหลุดหลังผ่าตัดเหมือนการผ่าตัดด้วยวิธีดั้งเดิม
บริการช่วยเหลือฉุกเฉินที่เข้าถึงทุกจุดด้วยความรวดเร็ว ครบครันด้วยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญในการช่วยชีวิตขั้นสูง พร้อมเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ตลอด 24 ชั่วโมง
ในระยะต้นและระยะกลาง อาจรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ท่ายืน เดินหรือนั่ง, พยายามลดน้ำหนักในคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน, ออกกำลังกายชนิดที่ไม่มีแรงกระแทก เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน การเดินในน้ำ หรือรักษาด้วยการใช้ยา ส่วนในระยะรุนแรงอาจมีการผ่าตัดร่วมด้วย โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
>>คลิกปั๊บรับความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ทันที โดยส่งตำแหน่งพิกัด GPS จากดาวเทียมผ่านระบบสมาร์ทโฟน ซึ่งโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพได้ติดตั้งระบบ “ BES i lert u” ร่วมกัน สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายให้ทุกโรงพยาบาลเป็นหนึ่งเดียว สามารถรับแจ้งขอความช่วยเหลือ และค้นหาข้อมูลตำแหน่งของคนไข้ได้ทันที
•อาการปวดข้อ (Pain dimension) เช่น ปวดข้อเข่าขณะเดินหรือขึ้นลงบันได, ปวดข้อเข่าขณะยืนลงน้ำหนัก, ปวดข้อเข่าขณะนั่งเฉยๆ •อาการข้อฝืด ข้อตึง (Stiffness dimension) เช่น ข้อฝืดขณะเพิ่งตื่นนอน หรือระหว่างการเปลี่ยนอิริยาบท จากนั่งไปยืน หรือจากยืนไปเดิน •การใช้งานข้อ (Function dimension) เช่น ความลำบากในการขึ้นหรือลงบันได การลุกยืนจากท่านั่ง หรือแม้แต่การเดินในทางราบปกติ