แกเลอรี่ คูย์อัน เสนอผลงานศิลปะชุดใหม่โดยศิลปิน “เหลียน เจิง” ชื่อ “Mutiny in the Garden” เป็นงานแสดงเดี่ยวครั้งที่สามกับแกเลอรี่ คูย์อัน “เจิง” เกิดในประเทศเวียดนามปัจจุบันทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้การผสมปนเปกันของงานศิลปะหลากหลายรูปแบบเพื่อสร้างงานที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยเธอทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของการปกครอง การซึมซับ และการต่อต้านที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์
งานแสดงได้ชื่อมาจากชิ้นงานใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก “The Course of Empire” โดยศิลปิน ทอมัส โคล จากศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสัน แม้ว่าโคลจะมีความคิดต่อต้านปรัชญาเทพลิขิต (Manifest Destiny) ในช่วงทีมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชนพื้นเมืองอเมริกัน อันมีภาพทิวทัศน์อันน่าเย้ายวนใจที่สร้างโดยศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสันที่กลายเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงความต้องการของสาธารณะในการขยายพื้นที่ไปทางทิศตะวันตก ภาพดังกล่าวแสดงได้ถึงความรู้สึกของศิลปะแห่งการปลดปล่อย ที่ซึ่งศิลปะนั้นเปรียบดั่งเครื่องผูกมัดอาณาจักรเข้าไว้ด้วยกัน และเปรียบดั่งปรากฎการณ์ที่สามารถเห็นได้จากงานศิลปะลัทธิแสดงพลังอารมณ์ ที่ได้รับการสั่งสมและส่งเสริมโดยหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อในช่วงสงครามเย็น
หยิบยืมแรงบันดาลใจมาจากรูปแบบการวาดภาพที่กล่าวถึงข้างต้น (และจากงานรูปแบบอื่นๆ) งานชุดนี้ของเจิงนำเสนอฝีแปรงงานศิลปะลัทธิแสดงพลังอารมณ์ โดยใช้ภาพภูมิทัศน์ในรูปแบบของโคล และใส่รูปร่างองค์ประกอบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานภาพพิมพ์ในสมัยสงครามของญี่ปุ่นที่เหล่าศิลปินใช้วิธีการวาดภาพลงบนผืนผ้าไหมแล้วนำไปขึงกับเฟรมผ้าใบอีกทีหนึ่ง ส่วนพื้นหลังถูกแบ่งออกด้วยการไล่สีสองสี ที่สร้างพื้นที่แบบประสมระหว่างเส้นแนวนอนในภาพวาดแบบตะวันตก และพื้นที่ว่างในแบบของงานศิลปะแนวเอเชีย ลวดลายคลื่นน้ำสไตล์เอเชียที่พาดพิงถึงลัทธิจักรวรรดินิยม และการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ในขณะที่เจิงนำเอาลวดลายสิ่งทอจากทั่วโลก โดยคัดเลือกอย่างระมัดระวังจากความหมายทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการแบ่งแยกหรือการรวมตัว รวมทั้งความหมายร่วมสมัยเกี่ยวกับเรื่องราวในภาพวาดที่กล่าวถึง
ในงานชุด “Mutiny in the Garden” แสดงภาพธงฝ่ายพันธมิตรที่ขาดวิ่นโบกสะบัดอยู่เคียงข้างธงประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหรัฐอเมริกา และลวดลายสิ่งทอจากประเทศแอฟริกาและภาพเดอะ เกรท ดิสมัล สวอมพ์ (The Great Dismal Swamp) แหล่งซ่อนตัวของกลุ่มคนหนีทาส ซึ่งเกิดขึ้นก่อนเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา ในภาพ “The Peril of Angel’s Breath” ประกอบไปด้วยงานสิ่งทอจากประเทศญี่ปุ่นและเวียดนามผสมผสานกันกับภาพของค่ายกักกันแมนซานาร์สำหรับเหล่าลูกครึ่งเชื้อชาติญี่ปุ่น-อเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่มีกลุ่มควันรูปเห็ดพวงพุ่งขึ้นเหนือหัว การอ้างอิงถึงเรื่องเล่าของการต่อต้าน การประท้วงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในทุกชิ้นงานในผลงานชุดนี้ เราอาจจะนึกถึงบุคคลสำคัญทางสิทธิมนุษยชนอย่าง เฟร็ด โคมัตสึ ที่ต่อสู้ทางกฎหมายให้แก่ชาวญี่ปุ่นในค่ายกักกัน ที่่ต่อสู้คดีความของเขาไปจนถึงชั้นศาลฎีกา เจิงพลิกเอามุมมองของพลัง แล้วจับภาพประวัติศาสตร์นี้มากลับหัวกลับหาง การมองต่างมุมนี้มีให้เห็นได้ในพื้นหลังที่ใช้วิธีการไล่สี โดยส่วนโทนสีเข้มอยู่เหนือเส้นขอบฟ้า และโทนสีอ่อนอยู่ด้านล่าง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่หาไม่ได้ในงานศิลป์แนวภาพภูมิทัศน์ของตะวันตก
นิทรรศการนี้ยังนำเสนอภาพวาดสีน้ำมันชุดย่อส่วนที่มีชื่อว่าทรานส์เลชิโอ อิมเพอรี (Translatio Imperii) ที่สื่อถึงสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ของเหล่ากษัตริย์ในการขึ้นครองราชย์ตามลำดับต่อเนื่อง โดยในชุดนี้เจิงใช้ฝีแปรงแนว รอย ลิคเทนสไตน์ (Roy Lichtenstein) ที่แหวกแนวจากงานของศิลปินที่มักเป็นผู้ชายผิวขาว ที่เป็นเสมือนพื้นฐานผู้สร้างงานศิลปะสมัยใหม่ ปรับเปลี่ยนให้แสดงภาพเหมือนเป็นหน้าต่างจากคนนอกมองสู่ข้างใน ที่ดูเหมือนจะเป็นภาพทิวทัศน์แบบบ้านนอก แต่เมื่อสังเกตดูดีๆ จะเห็นว่ามันเป็นเขตสงคราม วาดในแนวทางเหมือนกับศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสัน แต่ประปรายไปด้วยหลุมร่องรอยหลงเหลือของระเบิดของอเมริกัน
แต่ละภาพจะใส่กรอบสีดำที่ตกแต่งสวยงาม แต่ละชิ้นจะมีแผ่นทองเหลืองที่แสดงชื่อของประเทศโดยใช้หลุมระเบิดแทนเส้น พร้อมปีของการทิ้งระเบิด พื้นผิวสีดำด้านของกรอบจะเหลื่อมออกมาปิดผืนผ้าใบจนเกือบทั้งหมด โดยหลงเหลือให้เห็นเพียงรอย “ฝีแปรง” ของ “ศิลปินวีรชน” ที่ทะลุทะลวงออกมาผ่านม่านความมืดเพื่อแสดงให้เห็นถึงร่องรอยความรุนแรงของอีกฝ่าย เป็นการแสดงตัวอย่างของคอนเซปท์เฮเทอโรโทเปีย (heterotopia) ตามที่โฟคอลท์เป็นผู้สร้างไว้ งานของเจิงเป็นการสร้างพื้นที่ที่ความขัดแย้งของสองสิ่งสามารถตั้งอยู่เคียงข้างกันได้ รับรู้ถึงความขัดแย้ง และเส้นคั่นที่พาดผ่านสังคมโพสต์โมเดิร์นของเรา เธอยังไม่หยุดยั้งที่จะลากเส้นกั้นระหว่างการหลบหลีกและการไถ่ถอนความผิดบาปต่อไป
Artist: เหลียน เจิง (Lien Truong)
Exhibition Title: Mutiny in the Garden
Exhibition Dates: 19 ตุลาคม – 29 พฤศจิกายน 2561
Opening Reception: วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม เวลา 18:30น. – 20:30น.
Venue: แกเลอรี คูย์อัน 118 เหงียน แวน ธุ ดาว วอร์ด ดิสตริก 1 โฮจิมินห์ เวียดนาม
Contacts: ซิลีน อเล็กซานเดร – celine@galeriequynh.com
เหงียน คาน หยวน – huyen@galeriequynh.com
Telephone: +84 28 3822 7218
Hours: เวลา: 10.00น. – 19.00น. วันอังคารถึงวันเสาร์ และตามนัด
Art Eye View
Comments are closed.