World Celeb

3 ซีอีโอ ที่ต้องกุมขมับอย่างแรง

Pinterest LinkedIn Tumblr


ชีวิตหลังยุคโควิดไม่ใช่เรื่องง่าย บรรดาซีอีโอของหลายแห่งกำลังเครียด ปวดเฮดอยู่กับรายรับที่หดหาย บ้างก็พยายามไหวตัวให้ทันด้วยการออกมาตรการต่างๆ ออกมากู้สถานการณ์ บ้างก็ต้องบอกศาลากับธุรกิจที่เคยรุ่งเรืองไปเลย


รี้ด ฮาสติง ซีอีโอเน็ตฝลิกซ์

ด้วยความที่เน็ตฝลิกซ์อนุญาตให้แบ่งปันยูสเซอร์และพาสเวิร์ดใช้ได้หลายเครื่อง ทำให้รี้ด ฮาสติง ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งเน็ตฝลิกซ์ต้องนั่งกุมขมับกับรายได้ที่หดหายลงไปเรื่อยๆ จนเริ่มออกมาขยับตัวที่จะลดจำนวนพนักงานเพื่อกอบกู้ธุรกิจ นอกจากนี้ ยังออกมาประกาศรูปแบบสมาชิกใหม่ ที่จ่ายถูกกว่า แต่ผู้ชมต้องดูสตีมมิงแบบมีโฆษณาคั่น

หลังจากที่มีรายงานว่า ผู้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ลดลงฮวบฮาบ เหลือ 2.1 ล้านรายทั่วโลก จากที่เคยมีเข้ามาไตรมาสที่แล้ว 12.1 ล้านราย เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มสตีมมิงอื่นๆ ที่เป็นระบบสมาชิก ที่ต่างลดลงราว 30% โดยผู้คนกว่า 150 ล้านคนทั่วโลกจ้องจะยกเลิกการเป็นสมาชิก

โดยเฉพาะในสหรัฐฯ มีแอพพลิเคชันแบบเดียวกันนี้เยอะมาก ตั้งแต่ เน็ตฝลิกซ์ อีเอสพีเอ็นพลัส ฮูลู ดิสนีย์ วอร์นเนอร์ เอชบีโอ และพาราเมาท์ จากผลสำรวจ ชาวอเมริกันเป็นสมาชิกของระบบสตรีมมิงเฉลี่ยนคนละ 4.7 แบรนด์ โดยเลือกจ่ายเงินเป็นสมาชิก 1 แบรนด์ ส่วนที่เหลือเลือกแบบฟรี (มีโฆษณา) หรือชนิดที่ราคาต่ำๆ โดยคาดว่าแนวโน้มในการเลือกที่จะไม่ต้องจ่ายเลยมีสูงขึ้นเรื่อยๆ

ก่อนหน้านี้ เอชบีโอ ก็ออกมาอาศัยโมเดลรับโฆษณามาชดเชยค่าสมาชิกไปแล้ว ซึ่งเน็ตฝลิกซ์เชื่อว่า รูปแบบใหม่ที่จะมีโฆษณาด้วยนั้น จะช่วยขยายฐานสมาชิกออกไปได้อีกหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนเงินเดือนน้อยที่ไม่อาจจะเข้าระบบสมาชิกได้ ซึ่งรี้ดเชื่อว่าเป็นบุคคลที่น่าจะมั่นคงต่อเน็ตฝลิกซ์ หลังจากได้รับเนื้อหาคุณภาพที่พวกเขานำเสนอ


ออกัสตัส ตั้ง

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในยุคโควิด ก็คือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะสายการบินต่างๆ ที่เจ็บตัวกันไปตามๆ กัน เพราะไม่มีผู้เดินทางระหว่างประเทศรวมทั้งภายในประเทศด้วย

12 สายการบินที่ต้องประกาศปิดตัวอย่างถาวร ตั้งแต่ แอร์อิตาลี ลาแตม แอร์ไลน์ของชิลี เวอร์จินออสเตรเลีย คอมพาสแอร์ไลน์ของอเมริกา ไมอามีแอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ทรานสเตทแอร์ไลน์ ของสหรัฐฯ ฟลายบี ยูเค แอร์ เดคแคน ในอินเดีย เอเวียนกา สายการบินโคลัมเบีย เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ส ซันเอ็กซ์เพรส เยอรมนี และแอร์เอเชีย เจแปน

คาเทย์แปซิฟิก แอร์เวย์ส เป็นสายการบินล่าสุด ที่ออกมาประกาศความกระอักเลือดที่เป็นผลกระทบจากโคโรนาไวรัส โดยเพื่อที่จะรักษาธุรกิจไว้ได้ คาเทย์ออกมาประกาศยุบตำแหน่งกว่า 5,000 ตำแหน่งภายใต้แบรนด์คาเทย์ดรากอน ซึ่งทำให้มีผู้ว่างงานมากกว่า 5,000 ราย

จากรายงานของไออาตา หรือสมาคมการบินนานาชาติ คาดว่า อุตสาหกรรมการบินได้สูญเงินไปกว่า 77 พันล้าน ในครึ่งหลังของปี 2020 ขณะที่บริษัทที่ปรึกษาสายการบินในซิดนีย์ คาปา คาดคะเนว่า จะมีสายการบินจำนวนมากที่เลิกกิจการอย่างถาวรในปลายปีนี้


โดควอน ซีอีโอ แทร์รา ลูนา

แทร์รา ลูนา คริปโตเคอร์เรนซี ลดฮวบน่าใจหาย จากมูลค่า 1.6 ล้านดอลลาร์ ลงไปเหลือ 3,000 ดอลลาร์ จึงไม่แปลกที่นักลงทุนจะอยากพบเจอหน้าของ โดควอน ซีอีโอของแทร์รา ลูนา เพื่อถามไถ่

แน่นอนว่า การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ยอดที่ลดลงขนาดนี้ รวดเร็วปานนี้ มันเสี่ยงเกินที่จะรับได้ ชานเซอร์ส นักลงทุนชาวเกาหลีคนหนึ่งบอกว่า “ผมรู้สึกอยากตาย ผมสูญเสียเงินไปมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว ราวไ 2.4 ล้านดอลลาร์เห็นจะได้”

ชานเซอร์ส เริ่มลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี ตั้งแต่ปี 2017 จนกลายเป็นคนร่ำรวยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพราะว่าบิตคอยน์ และเงินดิจิทัลกำลังอยู่ในขาขึ้น “แต่ตอนนี้มีปัญหามากเลย”

แทร์รา ลูนา โดดเด่นขึ้นมาในเดือนธันวาคม 2021 เมื่อค่าของเหรียญคริปโตเริ่มพุ่ง จาก 5 ดอลลาร์ไปเป็น 116 ดอลลาร์ในเดือนเมษายนปีนี้

ชานเซอร์ส ก็เป็นเช่นคนอื่นๆ ที่เห็นโอกาสลงทุนในแทร์รา ลูนา แต่อยู่ดีๆ วันที่ 9 พฤษภาคม โลกแทบถล่มทลาย เมื่อมูลค่าของมันลดฮวบลงกว่า 99% ภายใน 48 ชั่วโมง ตอนนี้แต่ละเหรียญมีมูลค่าเพียง 0.0002 ดอลลาร์

เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจากคริปโต ‘พี่สาว’ อย่าง แทร์รายูเอสดี ประสบปัญหามูลค่าลดลงก่อน ทำให้เกิดการเทขายอย่างวิตกจริต จนส่งผลกระทบมาถึงแทร์รา ลูนา

นักลงทุนทุกคนพุ่งเป้ามาที่ โดควอน ผู้อยู่เบื้องหลังเหรียญคริปโตทั้วแทร์รายูเอสดี และแทร์รา ลูนา เพื่อที่จะหาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้น และเขามีแผนจะจัดการให้กลับมาดีขึ้นได้อย่างไร โดยเข้ามาสอบถามในโซเชียลมีเดียของเขา ขณะที่ชานเซอร์ส บุกไปถึงบ้านที่กรุงโซลของโดควอน “ผมเสียเงินไปมากมาย เลยอย่างจะคุยกับเขาตัวต่อตัว ว่ามีแผนยังไงต่อไป”

เขาต้องผิดหวังเมื่อไปเจอแต่ภรรยาของโดควอน ที่ออกมาบอกว่าสามีไม่อยู่บ้าน แย่ยิ่งกว่านั้นคือ เธอแจ้งตำรวจให้มาจับเขาด้วย ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้เหยียบเข้าไปในบ้านของซีอีโอ แทร์รา ลูนา เลยด้วยซ้ำไป “แต่ในเกาหลี แค่เดินทางไปและพยายามจะพูดอะไรก็ผิดกฎหมายแล้ว หลังถูกตำรวจสอบสวน ผมยังต้องมาออกสื่อขอโทษในการกระทำจองตัวเองด้วย”

ราว 250,000 คนลงทุนในแทร์รา ลูนา ซึ่งจนบัดนี้ โดควอน ยังไม่ออกมาพูดอะไรกับลูกค้าของเขาเลย คาดว่า บริษัทแทร์ราฟอร์มแล็บของเขาคงจบสิ้นกันแล้ว

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตำรวจเกาหลีได้ตรวจสอบธุรกิจของโดควอน และพบว่า ในปี 2020 เขาเคยทำบริษัทเหรียญคริปโตที่เจ๊งไปแล้ว อย่าง เบสิสแคช

ก่อนหน้าที่ค่าเงินของแทร์รา ลูนาจะตกฮวบ เขาบอกในช่องยูทูบคริปโตว่า “95% ของเหรียญคริปโตจะตาย แต่ก็เป็นเรื่องบันเทิงดีที่จะเห็นบริษัทตายตามไปด้วย” เขายังโพสต์ในทวิตเตอร์ที่มีผู้ติดตามนับล้าน ด้วยว่า “ผมชอบความวุ่นวาย”

Comments are closed.

Pin It