World Celeb

"พาเวล ดูรอฟ" บอก Telegram สำเร็จเพราะข่าวฉาว!!

Pinterest LinkedIn Tumblr


โซเชียลเน็ตเวิร์กสัญชาติรัสเซีย ที่ก่อตั้งโดย 2 พี่น้องดูรอฟ นิโคไล และ พาเวล โดยเริ่มจากการพัฒนาเว็บไซต์ วีเค ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็น เทเลแกรม เมสเซนเจอร์ (Telegram Messenger)

เรียกว่า เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย Telegram เป็นแอปฯ รับส่งข้อความที่นำเสนอความเร็ว ความปลอดภัย และฟีเจอร์ต่างๆ เช่น แชทลับที่มีการเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และข้อความที่สามารถทำลายตัวเอง

สองพี่น้องดูรอฟ เปิดตัวเว็บไซต์ วีเค ขึ้นในปี 2006 และพัฒนาให้เป็น Telegram ในเวลาต่อมาในฐานะโครงการวิจัย โดยมุ่งหมายจะสร้างโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ปลอดภัยและสนุกในเวลาเดียวกัน

บทบาทสำคัญของ Telegram ถูกจับตามอง หลังจากที่เอดเวิร์ด สโนว์เดน นำเอาข้อมูลระบบรักษาความปลอดภัยของสหรัฐมาเปิดเผยผ่านช่องทางนี้

“นั่นทำให้คนตื่นตกใจมาก” พาเวล ดูรอฟ ให้สัมภาษณ์ด้วยว่า พวกเขาไม่เพียงแต่ถูกกดดันให้แก้ปัญหาในจุดนี้เท่านั้น แต่ยังถูกทางการรัสเซียสอบสวนอีกด้วย แม้ว่าจะปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ แต่ วีเค และ พี่น้องดูรอฟ ก็ถูกขึ้นบัญชีดำของรัฐบาลรัสเซียไปในทันที


สองพี่น้องดูรอฟเชื่อว่า การถูกแบนเป็นข้ออ้างของทางการ ซึ่งจ้องจะเล่นงานองค์กรที่พัฒนากิจกรรมทางออนไลน์ทั้งหลายที่ควบคุมยากอยู่แล้ว พาเวล ยังเสริมว่า หากคุณใช้ซิมการ์ดของรัสเซีย มีความป็นไปได้สูงมากที่จะถูกดักฟัง

นิโคไล พัฒนาแอปฯ สำหรับแชตลับ Telegram ให้เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร เพื่อที่จะสร้างความน่าเชื่อถือในกลุ่มผู้ใช้งาน โดยข้อความในแชตลับจะไม่ถูกเก็บเอาไว้ในระบบคลาวด์ แต่จะสามารถทำลายตัวเอง ผู้ที่จะเข้าถึงข้อความนั้นได้มีเพียงผู้ส่งที่เป็นต้นทางเท่านั้น

พาเวล บอกว่า ทุกวันนี้มีผู้ใช้งาน Telegram วันละ 100,000 คน ซึ่งตัวเลขนี้ทำให้พวกเขาสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างราบรื่น “เรายังสามารถให้ยูสเซอร์ช่วยกันรีวิวโค้ดต่างๆ ให้ด้วย ให้เขาลองดูว่า แอปฯ ของเราทำด้อย่างที่คุยเอาไว้หรือเปล่า หรือมีจุดรั่วไหลตรงไหนที่ทำให้ไม่ปลอดภัยอีกหรือไม่?”

ทั้งคู่บอกว่า ยังจะวางสถานะของ Telegram ให้เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรต่อไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการครอบงำของธุรกิจ รวมทั้ง แรงกดดันของกฎหมาย ซึ่งหากพวกเขาขาดเงินทุนก็คงขอบริจาคจากบรรดายูสเซอร์ หรือคิดลูกเล่นมาขายในแอปฯ เอา

Telegram ได้รับการดาวน์โหลดมากที่สุดในตะวันออกกลาง วันละ 100,000 ครั้ง เทียบกับทวิตเตอร์ ที่มีผู้ดาวน์โหลดเพียง 2,000 ครั้ง เท่านั้น โดยผู้พัฒนาแอปฯ พบว่า Telegram กลายเป็นทางเลือกใหม่ของผู้แชตภาษาอังกฤษ แทน วอตส์แอป ที่จำกัดกลุ่มคนแชตเพียง 50 คนเท่านั้น แต่ Telegram ให้มากถึง 100 คนต่อกลุ่ม


สำหรับ พาเวล ดูรอฟ นอกจากจะได้ทุนรัฐบาลเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้วยผลการเรียนดีเด่นแล้ว เขายังจบมาพร้อมเกียรตินิยมด้านปรัชญาอีกด้วย แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ เรื่องราวการเป็นโปรแกรมเมอร์ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี ที่เขาเริ่มเขียนโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก ซึ่งนั่นอาจทำให้เขาเลือกที่จะเดินบนเส้นทางนี้ โดยมีพี่ชาย นิโคไล ที่เป็นนักคณิศาสตร์ที่ฉลาดไม่แพ้กันคอยสนับสนุน

เครือข่ายโซเชียลที่ได้ชื่อว่า “เฟซบุ๊ก รัสเซีย” เปิดตัวขึ้นมาในวันเดียวกับวันเกิดปีที่ 22 ของพาเวล ในวันที่ 10 ตุลาคม 2006 โดยเปิด วีเค เป็นเว็บไซต์ฟรี และมุ่งเน้นผู้ใช้ มีเครื่องมือค้นหาที่ค่อนข้างง่ายและไม่มีโฆษณา

การเติบโตของยูสเซอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่สัปดาห์ ด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่พาเวลใส่เข้ามา 3 เดือนให้หลังเว็บไซต์ วีเค ก็กลายเป็นเว็บยอดนิยมที่สุด 50 แรกบนอินเทอร์เน็ตของรัสเซีย จนเริ่มมีการแนะนำวิธีการทำกำไรต่างๆ บนเว็บ วีเค

ในปี 2007 เริ่มเกิดความขัดแย้งกับนักลงทุนรายแรก แต่พาเวลบอกว่าเขาจะยังไม่ทิ้งโครงการนี้ จนกระทั่ง เกิดกรณีกับกองทุน ยูซีพี เขาจึงขายหุ้น วีเค ทิ้งในอีกปีต่อมา ถึงขนาดขายทุกสิ่งทุกอย่าง และหนีออกนอกประเทศไปไม่กลับมาอีกเลย


ไม่มีการบอกเหตุผลที่ชัดเจนเรื่องเบื้องหลังการลงทุนใน วีเค รู้เพียงแต่ว่า เขาได้ขายหุ้นให้บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ Mail.ru ก่อนจะมาพัฒนา Telegram ให้เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร

ว่ากันว่า แม้ว่าแอปฯ Messenger จะถูกบล็อก แต่ผู้ใช้ก็ยังสามารถเข้าถึงได้ผ่าน VPN ได้ พาเวล บอกว่า Telegram เป็นที่นิยมเนื่องจากเรื่องอื้อฉาวมากมาย รวมทั้งคำมั่นสัญญาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมดที่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนทั้งหลาย ที่ไม่เคยมีใครให้คำตอบในสหรัฐหรือที่อื่นใดเลย

พาเวล มีจุดยืนในการทำธุรกิจ เขามักถูกวิพากษ์วิจารณ์และมีปัญหากับเจ้าของไซต์อื่น เขาต้องตบตีกับ จึงต่อสู้กับเว็บไซต์ Mail.ru ที่พยายามจะมาช้อนซื้อหุ้นทั้งหมดในเครือข่ายโซเชียลของเขา แต่พาเวลตอบว่าเขาจะไม่ขายหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทให้กับบริษัทอื่นอีก และต้องจูงใจผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ไม่ให้ขายให้ Mail.ru ด้วย ทำให้บริษัทอินเทอร์เน็ตรัสเซียพยายามซ้ำแล้วซ้ำอีก หาเรื่องมาใส่ร้ายป้ายสี อย่างเช่น อ้างว่าเนื้อหาที่โพสต์บนโซเชียลเน็ตเวิร์กถูกขโมยจากที่อื่น ฯลฯ

ทว่า พาเวล มักเพิกเฉยต่อข้อความดังกล่าว เขายังคงเชื่อมั่นในการทำงานอย่างมีอารยะ และยึดมั่นในหลักการของตัวเอง โดยเชื่อว่า สิ่งนี้ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จและกลายเป็นเศรษฐี

Comments are closed.

Pin It