Celeb Online

สจล. สะท้อนอนาคตเด็กไทย ด้วยวิชาปรับตัวในโลกยุค “ดิสรัปชัน”


อธิการบดี สจล. สะท้อนอนาคตเด็กไทยด้วยวิชาปรับตัวในโลกยุค “ดิสรัปชัน”หมดยุคค่อยเป็นค่อยไป ต้องปรับให้ทันโลกภาคการศึกษาไทยควรปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ AI ที่จะเข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตและการทำงาน เพื่อรองรับโลกยุค“ดิสรัปชัน” ที่สร้างความปั่นป่วนในฐานะที่เคยเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยและนายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย (สนร.)จะอาศัยประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้มาพัฒนาและสร้างคุณค่าให้กับประเทศไทยอย่างสุดชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกทุกวันนี้ทำให้ประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างยาวนานไม่สามารถนำมาปรับใช้ประโยชน์อะไรได้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น

ดังนั้นภาคการศึกษาของไทยจะต้องปรับตัวให้เข้าทันกับยุคสมัยจึงจะสามารถอยู่รอดได้ในโลกยุค “ดิสรัปชัน” (Disruption) ซึ่งเป็นยุคที่รวบรวมทั้งความปั่นป่วนการทำลายล้าง และการเกิดขึ้นใหม่ไว้ในยุคเดียวกัน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่าโลกทุกวันนี้ก้าวสู่ยุค “ดิสรัปชัน” (Disruption) การศึกษาของไทยควรได้รับการปฏิรูปและพัฒนาในด้านต่างๆเพื่อให้ก้าวทันกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะประเทศไทยที่ก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ที่ต้องการเน้นวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมวิทยาศาสตร์


เทคโนโลยีเพื่อใช้ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศโดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น ปัจจุบัน เทคโนโลยี AI : Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันซึ่งมาทดแทนด้านการทำงานในหลากหลายสาขาอาชีพไม่ว่าจะเป็นอาชีพนักการเงินที่เคยมีบทบาทอย่างมากในด้านการลงทุนแต่ทุกวันนี้กลับถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี AI เพราะด้วยความสามารถทางด้านการจดจำข้อมูลย้อนหลังนานนับ 10 ปีรวมถึงการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากกว่ามนุษย์ อีกทั้งยังปราศจากการทำงานที่มีอคติซึ่งนับว่าเป็นข้อดีของระบบ AI ที่มนุษย์อาจไม่สามารถทำได้ทั้งนี้ จากประสบการณ์ของมนุษย์ที่สะสมมายาวนานกว่า 70 ปี ปัจจุบันมองว่าไม่สามารถนำมาปรับใช้ประโยชน์อะไรได้แล้วเนื่องจากโลกยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เด็กไทยควรได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อดึงศักยภาพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาประเทศโดยเฉพาะการแข่งขันกับเด็กประเทศสิงคโปร์ ที่ในอดีตเด็กไทยเคยถูกสอนมาว่าไม่สามารถสู้เด็กจากประเทศนี้ได้แต่ปัจจุบันนี้เด็กไทยมีความรู้และความสามารถในหลายๆ ด้านจะเห็นได้จากนักเรียนจากโรงเรียนสาธิพระจอมเกล้าลาดกระบัง ด้วยวัยเพียง 10 ปี สามารถเขียนโปรแกรม Blockchain AI ควบคุมหุ่นยนต์ได้แชมป์โลกยังรวมถึงเด็กไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ให้เข้าร่วมการแข่งขัน Google Science Fairซึ่งเป็นรายการแข่งขันการประดิษฐ์เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน


เพราะสามารถสร้างรายได้ที่ดีกว่าหากว่าธุรกิจนั้นได้รับการยอมรับเพราะฉะนั้นทุกวันนี้ไม่ใช่ยุคที่คนจะมาเรียนเพื่อเป็นด็อกเตอร์หรือศาสตราจารย์ต่อไปแล้ว” ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวศ.ดร.สุชัชวีร์ ยังกล่าวว่าในฐานะที่เคยเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยและนายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทยจะอาศัยประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาพัฒนาและสร้างคุณค่าให้กับประเทศไทยที่ผ่านมา สจล. ได้มีการปรับตัวและรับมือให้เข้ากับยุคดิสรัปชัน (Disruption) โดยที่ผ่านมา สจล. ได้เชิญมหา มหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน (Carnegie MellonUniversity : CMU)

ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อันดับ 1 ของโลกเพื่อร่วมกันจัดตั้งสถาบันร่วมระดับอุดมศึกษา ภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) และได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2561ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์,สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทางมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กไทยด้วยเหตุผลที่ว่านักเรียนทุนรัฐบาลไทยที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนกว่า 300 คน ไม่เคยทำให้เขาผิดหวังมาก่อนนอกจากนี้ สจล.ยังได้เปิดสอนคณะแพทยศาสตร์


เพื่อผลิตแพทย์ที่ไม่เหมือนกับสถาบันศึกษาอื่นๆที่เน้นการเรียนการสอนควบคู่กับสถาปัตยกรรม โดยโฟกัสด้าน system thinkingและ system design เนื่องจากเครื่องมือทางการแพทย์เป็นเครื่องมือที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้นักศึกษาเมื่อจบหลักสูตรแล้วมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่รวมถึงเรียนด้านภาพยนตร์สั้น ซึ่งพบว่านักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านการตัดต่อภาพยนตร์นำไปผลิตเป็นภาพยนตร์สั้นในการส่งรายงานวิชาประวัติศาสตร์การแพทย์ขณะเดียวกันยังได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนนานาชาติในโรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า (KMIDS) ซึ่งถือเป็นโรงเรียนสาธิตแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้บรรจุหลักสูตรนานาชาติโดยมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนด้าน Science technologyเพื่อสร้างให้เด็กไทยได้มีความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับนักเรียนนานาชาติโดยมีเป้าหมายเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง Top 10 ของโลกและเมื่อเรียนจบในระดับปริญญาก็จะกลับมาทำงานและนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป“คำพูดที่ว่าค่อยเป็นค่อยไป หรือไม่มีการปรับตัว หรือช้าไปเพียงวันละ 1 นาทีอาจทำให้ธุรกิจไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้และจะทำให้ธุรกิจเกิดการล่มสลายได้เหมือนกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในอดีตที่เคยโด่งดัง ระดับโลก

อย่าง โกดัก โนเกีย และโมโตโรล่า ที่ถูกเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ฉะนั้นจะต้องไม่หยุดนิ่งและต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าคู่แข่งของเราเป็นใครและใครเป็นคู่แข่งของเรา”ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าว ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ร่วมกับมูลนิธิสมาคมนักเรียนรัฐบาลไทยในพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่นและนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดาวรุ่ง ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยมี ศ.ดร.สุชัชวีร์สุวรรณสวัสดิ์ ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Shaping Thailand’s Education in the Age of the Fourth Industrial Revolution” ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)