Celeb Online

มุมมองความรักจากดีเจอ้อย Club Friday ส่งท้ายเดือนแห่งความรัก


นิตยสาร SOOK ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบกับ

Happy Give + Share : อาสาบ้านดินไทย เครือข่ายจิตอาสา “การให้อย่ามองว่าเป็นการให้ เพราะการให้มันมีการรับอยู่ในตัวเอง สิ่งที่ได้กลับมาคือความสุขที่เงินซื้อไม่ได้” เพราะฝันที่จะมีบ้านดิน ทำให้คุณโย-สุรัช สะราคำ หัวหน้าศูนย์อาสาบ้านดินไทย อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ เรียนรู้ที่จะสร้างบ้านดินด้วยตนเองจากการเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆ และตัดสินใจชักชวนเพื่อนสนิทมิตรสหายที่มีใจเดียวกันมาร่วมทำเว็บไซต์บ้านดินไทยดอทคอท เพื่อช่วยสร้างชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้ดีกว่าเดิม

Sook Idea : รักให้เป็นสุข How to Find Happiness in Love – ความรักเป็นสิ่งดีงามบนโลก และเกิดขึ้นได้มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ความรักของพี่น้อง ความรักของเพื่อน ฯลฯ แต่ความรักที่มักก่อทุกข์ในใจหนักๆ คงไม่พ้นความรักของหนุ่มสาว บางคนอาจกำลังโสด บางคนมีคู่ บางคนอกหัก บางคนหย่าร้าง แต่จะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะนำพาสติและปัญญามาใช้กับความรักได้มากน้อยแค่ไหน

Sook Interview : มองรักอย่างเป็นสุขทุกสถานะ – พี่อ้อย-นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล ดีเจผู้เชี่ยวชาญด้านความรักจากคลื่นวิทยุยอดฮิต Club Friday I Greenwave 106.5 ผู้ที่ให้มุมมองด้านความรักได้อย่างน่าสนใจในสองมุมมองทั้งสำหรับคนโสดและคนมีคู่ เพื่อให้รู้และเข้าใจในจุดยืนของแต่ละความสัมพันธ์ ให้เราสามารถมีความสุขได้ไม่ว่าต้องอยู่ในสถานะใดก็ตาม และความรักที่ดีต้องตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานของความเป็นจริงด้วย

นิตยสาร O-Live ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 พบกับ

O-You : “ปารวี วาสิกะสิน” สะสมไมล์กว่า 10 ปี จนได้ติดปีก กัปตันหญิง – แค่เอ่ยถึงคำว่า “นักบินหญิง” ภาพของหญิงเก่งสุดเท่ก็ลอยเข้ามาในหัวทันทีแล้ว ยิ่งเป็นถึง “กัปตัน” บอกเลยว่ามีผู้หญิงไม่กี่คนที่จะมาถึงจุดนี้ได้อย่างเธอคนนี้ ปลา-ปารวี วาสิกะสิน จากสายการบินไทยแอร์เอเชีย เส้นทางอาชีพของเธอกว่าจะมาเจอสิ่งที่ใช่นั้น ลองผิดลองถูกมาหลายอาชีพ แม้แต่อาชีพในฝันของสาวๆ อย่างแอร์โฮสเตสเธอก็เป็นมาแล้ว แต่ทำไมเธอถึงเลือกจะมาเป็นนักบิน อาชีพที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นงานของผู้ชายเท่านั้น?

O-Beauty : 70/30 สมการความสวยของสาวทำงาน – เวิร์กกิ้งวูแมนทั้งหลาย แม้จะยังต้นปีอยู่แต่งานก็เริ่มถาโถมเข้ามาแล้วใช่มั้ยล่ะ อย่าทำงานหนักจนลืมดูแลตัวเองเชียวนะ และไม่ลืมเรื่องแต่งหน้าให้สวยเหมาะกับทั้งบุคลิกและหน้าที่การงาน โดยให้ความสำคัญกับเรื่องความสวยของผิวพรรณเป็น 70% และเมกอัพอีก 30% ถึงจะสมกับเป็นสาวทำงานตัวจริง

O-Health food wise : 5 อาหารเสริม ที่สาวทำงานควร (เลือก) กิน – อาหารการกินสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในเรื่องการดูแลสุขภาพ แต่สำหรับสาวทำงานที่ทำงานตัวเป็นเกลียวจนกลัวว่าจะกินอาหารไม่ดีพอ อาหารเสริมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยคุณอัปความแข็งแรงให้ตัวเองได้ และนี่คืออาหารเสริมที่เหมาะสำหรับสาววัยทำงาน เลือกชนิดที่เหมาะกับความต้องการของร่างกายคุณ ไม่จำเป็นต้องกินไปหมดทุกอย่างนะ!

นิตยสาร National Geographic ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พบกับ

คนเก็บอดีต – ว่ากันว่าการพบเจอข้าวของเก่าๆ เปรียบเหมือนการได้พบเพื่อนเก่าอีกครั้ง เอนก นาวิกมูล เป็นนักสะสมของเก่าตัวยงที่เก็บข้าวของแทบทุกประเภท และแสวงหาความรู้จากของเหล่านั้น เพื่อ “ปะ-ชุน” อดีตที่เคยแหว่งหาย เขาเป็นเจ้าของผลงานหนังสือที่ต่อยอดจากการค้นคว้า ของเก่ารวมแล้วกว่า 170 เล่ม และเปิดบ้านย่านพุทธมณฑลเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ เพื่อส่งต่อเสน่ห์แห่งความทรงจำให้แก่ผู้คนที่แวะมาเยี่ยมเยือน

คนไทยคนแรก บนยอดเขาสูงที่สุดในโลก – เมื่อปี พ.ศ. 2551 วิทิตนันท์ โรจนพานิช ครีเอทีฟรายการโทรทัศน์และผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นไปชูธงชาติไทยบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ทุกวันนี้ เขาเรียกตัวเองว่าคนบ้างาน และมีโปรเจกต์ใหม่ๆ ในหัวตลอดเวลา ตั้งแต่สร้างภาพยนตร์ ผลิตรายการโทรทัศน์ ทำงานศิลปะ ไปจนถึงสะสมกีตาร์ แต่การตระเวนปีนยอดเขาสูงทั่วโลก เป็นสิ่งที่เขาหลงใหลและไม่เคยลืมช่วงเวลาแห่งความทรงจำเมื่อขึ้นไปยืนบนยอดเขาเหล่านั้น

ศิลปินคนแรกๆ ของโลก – นวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษยชาติคือ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังงานศิลป์ชิ้นแรกๆ ของโลกเหล่านี้ ทางเข้าถ้ำให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังเดินเข้าสู่ลำคอของสัตว์ขนาดใหญ่ยักษ์ ทางเดินโลหะดูประหนึ่งลิ้นที่ตวัดลงสู่ความมืดมิดเบื้องล่าง เพดานถ้ำเตี้ยลง มีหลายจุดที่ผนังถ้ำทึบตันบีบแคบจนแตะไหล่ผม จากนั้นผนังหินปูนที่ขนาบอยู่กลับเปิดกว้างขึ้น และเราก็ก้าวเข้าสู่คูหาถ้ำกว้างใหญ่ที่เปรียบได้กับท้องของเจ้าสัตว์ยักษ์ตัวนั้น

โลกกำลังจมน้ำ – สภาพอากาศรุนแรงซึ่งบางครั้งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดูเหมือนกำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในทุกวันนี้ กระนั้น ผลกระทบที่มีต่อชีวิตผู้คนโดยทั่วไปอาจยังไม่ชัดเจนนัก ผมเริ่มบันทึกผลกระทบดังกล่าวในปี 2007 โดยเก็บภาพอุทกภัยสองครั้งที่เกิดห่างกันไม่กี่สัปดาห์ ครั้งหนึ่งในสหราชอาณาจักร และอีกครั้งหนึ่งในอินเดีย :: Report by FLASH