Celeb Online

แคลเซียมสำคัญต่อทุกวัย แต่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ เสริมยังไงดี


ภาวะร่างกายขาดแคลเซียม หรือโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แม้จะพบได้มากในผู้สูงอายุ และสตรีที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือหมดประจำเดือน แต่ในปัจจุบัน ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนมีแนวโน้มพบว่าอายุเฉลี่ยของผู้เป็นโรคกระดูกพรุนลดลงทุกปี ที่สำคัญร้อยละ 90 ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นหรือมีความเสี่ยงต่อโรค ถือเป็นภัยเงียบที่คนไทยส่วนใหญ่มองข้าม สาเหตุหลักมาจากการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน การบริโภคแคลเซียมในคนไทยเฉลี่ยเพียงแค่ประมาณ 400 มิลลิกรัม/วัน เท่านั้น ในขณะที่คนเราต้องการปริมาณแคลเซียมโดยเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน ทั้งนี้ หากร่างกายมีอาการขาดแคลเซียม ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกบางเปราะและแตกได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณที่สำคัญอย่างสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ เราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายด้วยตนเองได้ง่ายๆ เช่น วิงเวียน เหนื่อยง่าย เล็บบางและรุนแรงไปจนถึงกระดูกแตกง่าย เป็นต้น


การที่มวลกระดูกของร่างกายมนุษย์ลดลง ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ถึงแม้ว่าขนาดของกระดูกจะเท่าเดิม แต่ในความเป็นจริงคือ ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแตกหักของกระดูก และแม้โรคกระดูกพรุนจะสามารถพบได้กับทุกเพศทุกวัย และพบมากเมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น ถ้าหากเกิดขึ้นในผู้สูงอายุก็จะมีความเสี่ยงสูงยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งถ้าหากรู้ทันว่าอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยง ก็จะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เราสามารถป้องกันและลดความรุนแรงได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ที่มีแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เสริมสร้างบำรุงเซลล์เพื่อให้กระดูกและฟัน แข็งแรงไม่เปราะบางแตกหักง่าย การทานอาหารที่มีวิตามิน D เพื่อช่วยในการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกาย การออกกำลังกายเป็นประจำ อีกทั้งแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายแคลเซียมให้ลดลง นำไปสู่การเกิดโรคกระดูกพรุน เปราะบาง แตกหักได้ง่าย


“การบำรุงรักษาและการดูแลป้องกันโรคกระดูกพรุนให้กับทุกคนในครอบครัวจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม การเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่เด็กเล็กในบ้านที่ต้องการแคลเซียมในการเจริญเติบโต ในเด็กวัยรุ่นเพื่อเสริมสร้างในเรื่องสูงสมวัย รวมไปถึงพ่อแม่ หรือคุณตาคุณยาย การลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ การล้มทำให้กระดูกแตกหัก หากมีการกระแทกอย่างรุนแรงอาจทำให้ทุพลภาพได้ และนำไปสู่อัตราการเสียชีวิตจากการที่กระดูกแตกหักที่สูงขึ้น ซึ่งอันตรายมาก” การดูแลเอาใจใส่คอยสังเกตุสมาชิกและเริ่มต้นเสริมแคลเซียมจึงเป็นเรื่องสำคัญ

แพทย์ผู้เชียวชาญ ได้แนะวิธีการเลือกเสริม calcium ที่เหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัย เครื่องดื่มวิตามินแคลเซียมในรูปแบบน้ำควรจะมีแคลเซียมถึง 200 มิลลิกรัม ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย “ปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสริมแคลเซียมที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายในปริมาณที่เพียงพอได้ มีนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ที่มีในท้องตลาดช่วยเสริมสร้างแคลเซียมให้กับร่างกายที่อยู่ในรูป Organic Salt นั่นก็คือ Calcium Glycerophosphate ที่เป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายเรามีความคุ้นเคย ซึ่งทำให้สามารถดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า มากกว่า Calcium carbonate ถึง 4 เท่า และสามารถดื่มทดแทนน้ำเปล่าได้”


นอกจากนี้ยังพบว่า Calcium Glycerophosphate ยังสามารถถูกดูดซึมเข้ากระดูกได้ดี เนื่องจากสัดส่วนของแคลเซียม เท่ากับ 1:3 ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกันกับในกระดูก และร่างกายสามารขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ไม่มีปัญหาตกค้างของแคลเซียม ที่อาจทำให้เกิดนิ่วหรือกระดูกงอกได้ เพราะว่าเป็น Calcium Organic ที่ดูดซึมได้ดี

ดังนั้น การให้ให้ทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะผู้สูงอายุรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมอยู่เป็นประจำเพื่อช่วยเสริมสร้างแคลเซียม และแร่ธาตุสำคัญ ๆ ให้กับร่างกายจึงมีส่วนช่วยให้โอกาสในการเกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะบางลดลงเพราะ 1 ขวดมีแคลเซียมสูงถึง 200 มก. และยังมีฟอสสอรัสและวิตามินบี 12 สูง ดื่มง่าย หอมกลิ่นโยเกิรต์ สดชื่นได้ทุกวัน แบบไม่มีน้ำตาล 0 แคล การบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูก ของทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เรารักให้อยู่กับครอบครัวไปตราบเท่านาน ในช่วงเทศกาลแห่งความสุขในช่วงปีใหม่นี้ มอบเป็นของขวัญเพื่อสุขภาพไปได้ตลอดทั้งปี และทุกปี เพื่อรอยยิ้มที่มีความสุขของทุกคนในครอบครัว

** ขอบคุณข้อมูลจาก ***
ทพญ.สุชาวดี สัมฤทธิวณิชชา กรรมการบริหาร บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด และบริษัท โอสถสภา ยันฮี เบฟเวอเรจ จำกัด