ขณะที่ กฎการสืบสันตติวงศ์ในราชวงศ์อื่นๆ ของยุโรปหลายประเทศ หันมายึดตามวัยวุฒิ ไม่ใช่เพศสภาพ บรรดาเจ้าหญิง ราชธิดาพระองค์แรกของราชวงศ์ จึงเตรียมพร้อมที่จะขึ้นเป็นราชินีปกครองประเทศในอนาคต
1. เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน
แม้ว่าเจ้าหญิงวิกตอเรีย จะประสูติเมื่อปี 1977 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนกฎการสืบสันตติวงศ์ในปี 1980 แต่พระองค์ก็มีสิทธิ์มีเสียงเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งทันที
เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย อิงกริด อลิซ เดซิเร พระราชธิดาพระองค์แรกในกษัตริย์คาร์ลที่ 16 กุสตาฟ และราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน ซึ่งหากพวกเขาไม่เปลี่ยนกฎมณเฑียรบาล เจ้าชายคาร์ล ฟิลิป เอ็ดมุนด์ ดยุคแห่งวอร์มแลนด์ พระอนุชาคงจะเป็นผู้ครองบัลลังก์แทน
2. เจ้าหญิงเลโอนอร์ อัสตูเรียสแห่งสเปน
ราชินีเลติเซีย คืออดีตผู้สื่อข่าวสาวที่ได้แต่งงานเข้าราชสำนักสเปน กับกษัตริย์เฟลิเปที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าชายในขณะนั้น หลังจากกษัตริย์ฆวน การ์ลอสที่ 1 สละราชสมบัติเพราะเรื่องฉาวในปี 2014 เจ้าชายเฟลิเปขึ้นครองราชย์ ทำให้เจ้าหญิงเลโอนอร์ ในวัย 16 กลายเป็นรัชทายาทอันดับแรกไปโดยปริยาย
เจ้าหญิงเลโอนอร์ ทรงศึกษาอยู่ที่แอตแลนติก คอลเลจ ในเวลส์ เป็นโรงเรียนที่บรรดาราชวงศ์นิยมส่งพระโอรสและพระธิดามาเรียนกัน
3. เจ้าหญิงอมาเลียแห่งเนเธอร์แลนด์
เจ้าหญิงอมาเลียแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงศึกษาอยู่ที่เดียวกับ เจ้าหญิงเลโอนอร์แห่งสเปนและพระขนิษฐา เจ้าหญิงอเล็กเซียแห่งสเปน ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในกษัตริย์วิลเลม-อเล็กซานเดอร์ และราชินีมักซิมา
ในวัย 18 ชันษา พระองค์ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลปีละ 1.8 ล้านดอลลาร์ ซึ่งพระองค์ทรงออกมาประกาศว่าจะไม่รับเงินจำนวนดังกล่าว ขอคืนให้นำไปทำประโยชน์ต่อสังคม
4. เจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งเบลเยี่ยม
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งบราบันต์ พระธิดาพระองค์โตในกษัตริย์ฟิลิปป์และราชินีมาทิลด์แห่งเบลเยี่ยม เป็นอีกพระองค์ที่ทรงศึกษาอยู่ที่แอตแลนติก คอลเลจ
พระองค์ทรงมีพระประสูติกาล 10 ปี หลังจากเปลี่ยนกฎมณเฑียรบาล ให้สตรีสามารถขึ้นครองราชย์ได้ ไม่เช่นนั้น พระอนุชา เจ้าชายกาเบรียล ก็คงจะสืบสันตติวงศ์ต่อไป
5. เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซานดรา แห่งนอร์เวย์
พระธิดาในเจ้าฟ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ แม้ไม่ได้ทรงเป็นพระธิดาพระองค์โต แต่ทรงได้รับตำแหน่งรัชทายาทอันดับ 1 เนื่องจากทรงเป็นพระธิดาในเจ้าฟ้าหญิงเม็ตเตอ-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ ทำให้ได้สิทธิ์นี้