ในภาวะของโรคระบาดที่ผ่านมา คุณอาจคิดว่าธุรกิจบันเทิงคงต้องถึงกาลล่มสลาย จากดราม่าหลายๆ เรื่องที่เราได้ยินได้ฟังมา แต่ธุรกิจเพลงยังคงดำเนินไป แถมยังได้กำไรงดงามแบบรายชั่วโมง โดยเฉพาะค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของโลก 3 บริษัทนี้ที่เชื้ออะไรก็ทำร้ายไม่ได้
ยูนิเวอร์แซล มิวสิค กรุ๊ป (ยูเอ็มจี)
บริษัทเจ้าองลิขสิทธิ์เพลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริหารงานโดยประธานและซีอีโอ อย่าง เซอร์ ลูเซียง เกรนจ์ โดยบริษัทถือหุ้นส่วนใหญ่ คือ วิวองดี ฝรั่งเศส ยูเอ็มจี ยังมีบริษัทลูก อย่าง แคปิต เรคคอร์ดส เดกกา เดฟแจม ดอยช์แกรมมาโฟน อินเตอร์สโคป ไอส์แลน์ โมทาวน์ โพลีดอร์ รีพับลิก และเวอร์จิน อีเอ็มไอ นอกจากนี้ ยูเอ็มจียังมีธุรกิจการทำแผ่นเสียงที่แยกจากบริษัทลิขสิทธิ์เพลง ที่มี โจดี เกอร์สัน นั่งเป็นประธานและซีอีโอแยกกันต่างหากด้วย
ในปี 2020 บริษัทเทนเซนต์ของจีน เข้ามาซื้อหุ้น10% ในยูนิเวอร์แซล มิวสิค กรุ๊ป เป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ ทำให้ยูเอ็มจี ยังคงเป็นบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากที่ซื้ออีเอ็มไอ มิวสิคจากเครือซิตีแบงก์มาอยู่ในอาณัติ ด้วยมูลค่า 1,900 ล้านดอลลาร์
ยูนิเวอร์แซล มิวสิค กรุ๊ป เริ่มดำเนินกิจการในปี 1962 โดยเป็นการควบรวมกันของบริษัทเอ็มซีเอ อิงก์. และเดกกา ในนามยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ ก่อนจะแยกออกมาเป็นแผนกดนตรีหลังจากขายบริษัทลิขสิทธิ์หนังให้มัตสึชิตะ อีเลคทริกไปในปี 1990 โดยมีบริษัทซีแกรมที่มีโพลีแกรมมาควบรวม กลายเป็น ยูนิเวอร์แซล มิวสิค กรุ๊ป
โซนี มิวสิค กรุ๊ป (เอสเอ็มจี)
กลุ่มบริษัทเพลงที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โซนี เรคคอร์ดส์ ใช้ในการทำธุรกิจดนตรีนอกประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทในเครือประกอบด้วย โซนี มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ โคลัมเบีย เอปิค อาร์ซีเอ รวมทั้ง โซนี/เอทีวี ฯลฯ
เอสเอ็มจี เปิดตัวในปี 2019 บริหารงานโดย ร็อบ สตริงเกอร์ อดีตซีอีโอของโซนี มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป้าหมายของพวกเขาคือการขึ้นเทียบเคียงเป็นอันดับหนึ่งในธุรกิจเพลงให้ได้
โดยปกติ บริษัทลูกอื่นๆ ของโซนี่ฯ ต่างก็ทำงานเป็นเอกเทศ ทว่า โซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นบริษัทที่ต้องรายงานตรงกับ ประธานและซีอีโอของ โซนี คอร์ปอเรชัน โตเกียว อย่างเคนนิชิโร โยชิดะ
วอร์นเนอร์ มิวสิค กรุ๊ป (ดับเบิลยูเอ็มจี)
บริษัทลิขสิทธิ์เพลงอันดับ 3 ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ในแมนแฮตตัน นิวยอร์ก มีบริษัทในเครืออย่างแอตแลนติก เรคคอร์ดส์ วอร์นเนอร์ เรคคอร์ดส์ อีเลคทรา มิคสิค กรุ๊ป ชัปเปล มิวสิค ฯลฯ
ในปี 2019 วอร์นเนอร์ มิวสิค กรุ๊ป ประกาศผลกำไรถึง 3,880ล้านดอลลาร์ เทียบเป็นการมีรายได้เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบปีต่อปี ทั้งยอดขายและตัวเลขในตลาดหุ้น
สำหรับจุดเริ่มต้นของบริษัท ต้องย้อนไปตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960S ที่ดับเบิลยูเอ็มจี เปิดตัวมาในนาม วอร์นเนอร์ บราเธอร์ส เรคคอร์ดส์ หลังจากที่พวกเขาเจอกัน แฟรงก์ ซีเนตรา ก่อนจะขายหุ้นให้เซนเวนอาร์ตส์ กลายเป็น วอร์นเนอร์ บราเธอร์ส เซเวน อาร์ตส และเข้าสู่ยุครุ่งเรืองสุดๆ กับการเข้ามาของ อาห์เมต เออร์เตกัน แห่งแอตแลนติก เรคคอร์ดส์
วอร์นเนอร์ฯ ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงในปี 1969 โดย คินนีย์ เนชันแนล คอมพานี ได้มาซื้อหุ้นของเซเว่น อาร์ตส์ พร้อมควบรวม อีเลคตรา เรคคอร์ดส์ กับนันซัช เรคคอร์ดสเข้าในดับเบิลยูเอ็มจีด้วย
ในปี 1972 คินนีย์ ตัดสินใจขายหุ้นทุกบริษัทที่ไม่เกี่ยวกับดนตรีออกไปหมด แล้วไปซื้อแอสไซลัม เรคคอร์ดส์ มาจากเดวิด เกฟเฟน ที่มีลิขสิทธิ์เพลงเบอร์ใหญ่ๆ อย่างดิ อีเกิลส แจ๊คสัน บราวน์ และโจนี มิตเชล ฯลฯ
มาถึงปี 1990 วอร์นเนอร์ฯ ขายไทม์ อิงก์. ให้เอโอแอล ก่อนที่ วอร์นเนอร์ มิวสิค กรุ๊ป จะเข้าสู่การเป็นบริษัทมหาชนอย่างเป็นทางการในปี 2004 โยมีนักลงทุนอย่าง เอดการ์ บรอนฟ์แมน จูเนียร์ มาช้อนซื้อไปถึงมูลค่า 2,600 ล้านดอลลาร์ และหุ้นของวอร์นเนอร์ก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอด 6 ปีหลังจากนั้น